คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร? เรื่อง ตอบคำถามสื่อนอก โดย กาหลิบ
ได้ อ่านบทสัมภาษณ์หมาดๆ ของตัวแทนสำนักข่าวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงระดับโลก กับแกนนำฝ่ายประชาธิปไตยไทยที่กำลังลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศเพราะคดีหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพ ซึ่งกำลังกว้างขวางอยู่ในเว็บต่างๆ ขณะนี้ ก็รู้สึกว่าน่าจะบันทึกเป็นภาษาไทยไว้สักหน่อย เพื่อไม่ให้หลุดลอยตามลมไป
สาระส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ช่วยอธิบายถึงวิกฤติการณ์ทางการเมืองของไทยได้ชัดดี
บางส่วนของบทสัมภาษณ์นั้นมีดังนี้:
“๑. พลเอกประยุทธ์ (จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก) พยายามจะสื่อสารอะไรในการแถลงข่าวแนะให้ประชาชนเลือก “คนดี” และเหตุใดเขาจึงเลือกช่วงเวลานี้ออกมาพูด?
คำตอบ: เขาต้องการแผ่อิทธิพลของตัวเขาเองและกองทัพเข้าสู่การเลือกตั้งที่เขากลัว ว่าจะคุมไม่อยู่หากพรรคเพื่อไทยชนะ การแนะให้เลือก “คนดี” เป็นอุบายเก่าแก่ของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยไทยเพื่อสื่อสารว่าคนที่มาจากการเลือก ตั้งล้วนแล้วแต่เลวทรามและไว้วางใจมิได้ สิ่งที่เขาและคนที่คิดอย่างเขาต้องการจริงๆ คือรัฐบาลพิเศษที่ถูกส่งลงมาปกครองประเทศแทนรัฐบาลที่ประชาชนตั้ง นี่ล่ะคือแนวคิดแบบศักดินา-อำมาตย์โดยแท้ เขาเลือกเวลานี้ออกมาพูดเพราะไม่มีเวลาอื่นอีกแล้ว การเลือกตั้งเคลื่อนใกล้เข้ามา การดำเนินการสกัดกั้นใดๆ ในเวลานี้ รวมถึงการรัฐประหาร ก็ไม่สามารถกระทำโดยไม่เกิดผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อฝ่ายเขา
๒. พลเอกประยุทธ์ฯ สั่งแจ้งความดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และแกนนำเสื้อแดงอื่นๆ จากกิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน (๒๕๕๔) และมีรายงานข่าวว่ากองทัพอยู่เบื้องหลังคดี ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีดังกล่าวนี้บอกอะไรบ้างเกี่ยวกับวิธีการของกองทัพ และมีความหมายอย่างไรต่อการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปกฎหมายนี้?
คำตอบ: ข้อหาหมิ่นเบื้องสูง เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและสะดวกของฝ่ายศักดินา-อำมาตย์ไทยมาตั้งแต่ อดีต รวมทั้งกองทัพ กรณีนี้จึงไม่ได้ทำให้เราเข้าใจกองทัพมากขึ้น แต่ทำให้เราอ่านใจของข้างบนได้ ทำให้รู้ว่าข้างบนกำลังคิดและรู้สึกอย่างไรกับการใช้กฎหมายนี้และผู้ที่นำมา ใช้ มันชวนให้เราคิดวิเคราะห์ว่าการแถลงของประยุทธ์ฯ อย่างมีจังหวะเวลาและเข้ามาเกี่ยวกับการเมืองอย่างมากนั้นน่าจะได้รับการ สนับสนุนและสัญญาณอันชัดเจน สำหรับผมแล้วนี่คือเวลาที่ข้างบนควรแสดงจุดยืนของตนให้ชัดเจน การหลบอยู่หลังคำพูดว่า “อยู่เหนือการเมือง” นั้น ย่อมไม่ได้ผลอีกแล้ว ประชาชนปัจจุบันเข้าใจอะไรต่างๆ ดีกว่าเดิมมากนัก
๓. ในกรณีใดบ้างที่กองทัพจะก่อการรัฐประหารอีก มีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่ช่วงเวลานี้ และโอกาสของพรรคเพื่อไทยในการจัดตั้งรัฐบาลโดยไม่ถูกข้อกฎหมายจนต้องถูกยุบ มีมากแค่ไหน?
คำตอบ: การรัฐประหารเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อฝ่ายศักดินา-อำมาตย์รู้สึกว่าตนเองควบคุม สถานการณ์ไม่อยู่ หรือเกิดผลกระทบใดๆ ต่อสถาบันกษัตริย์โดยตรง ในด้านกายภาพการก่อรัฐประหารเป็นไปได้เสมอ ปัญหาอยู่ที่ผลกระทบด้านลบที่ติดตามมา พวกเขาจะรักษาอำนาจที่ได้รับจากการรัฐประหารกันอย่างไรในยุคนี้สมัยนี้? เขาจะฟื้นความเชื่อมั่นในประเทศ (ไทย) อย่างไรในยุคแสวงหาประชาธิปไตยและการค้าเสรียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างทุกวันนี้? พูดสั้นๆ คือคนในระบอบศักดินาอำมาตย์จะเป็นฝ่ายที่สูญเสียมากหากเกิดรัฐประหารขึ้น จริงๆ โดยส่วนตัวผมคิดว่าพวกเราจะรัฐประหารก็ต่อเมื่อหมด ทางเลือกอื่นๆ แล้ว หากคุณถามว่าอะไรบ้างที่จุดชนวนรัฐประหารได้ ผมก็คงนึกตัวอย่างได้บ้าง ความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลดอำนาจอันล้นพ้นของระบอบเก่า ความเคลื่อนไหวที่จะปลดผู้บัญชาการทหารบก การกลับไทยของคุณทักษิณ ชินวัตร การจับอาวุธขึ้นสู้ของ “ฝ่ายตรงข้าม” และสุดท้ายซึ่งไม่ใช่ว่าสำคัญสุดท้าย นั่นคือเรื่องสุขภาพของกษัตริย์
คำสั่งจากศาลเพื่อยุบพรรคเพื่อไทยมีความเป็นไปได้เสมอ ผมไม่ต้องขยายความใดๆ ในเรื่องนี้เลย เว้นแต่จะยืนยันว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยทั้งโครงสร้าง เราเอาพลาสเตอร์มาปิดแผลที่มันถึงขั้นผ่าตัดไม่ได้หรอก
๔. ตกลงกองทัพมีเดิมพันอะไรในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนจะมีปฏิกิริยาอย่างไรหากเกิดการสกัดกั้นประชาธิปไตย (รัฐประหาร, คำสั่งศาล) ขึ้นจริงๆ?
คำตอบ: ผมเชื่อว่า มวลชนจะเคลื่อนลงใต้ดินมากขึ้นหากเกิดการรัฐประหารหรือฝ่ายประชาชนรู้สึกว่า ถูกโกงหรือเอาเปรียบอย่างหนัก ผมยังไม่เห็นภาพสังคมไทยเคลื่อนตัวอย่างมวลชนในตูนิเซีย อียิปต์ และเยเมนในเวลานี้ เขาเหล่านั้นเล็งเป้าไปที่ผู้มีอำนาจสูงสุดอย่างมั่นเหมาะ ไม่ได้มัวต่อกรกับคนระดับล่าง แล้วมวลชนไทยเราเล็งเป้าที่ถูกต้องแล้วหรือ? ผมยังไม่เชื่อเช่นนั้น การรณรงค์โดยขาดเป้าเล็งที่ชัดเจนและขาดกลยุทธ์ที่สัมพันธ์ต่อเนื่อง มวลชนจะไม่สามารถแสดงโกรธแค้นต่อศูนย์กลางของปัญหาการเมืองทุกปัญหาได้ พร้อมกันนั้นผมเชื่อว่าขบวนการใต้ดินใหม่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีการนำ ที่ดีขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของไทยอาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ดูคล้ายสยบยอม แต่จะยืนยง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น