ตอน 3
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารเสนาธิปัตย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553 เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ”เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทางทหาร: กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง” จากความริเริ่มของพล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในเมืองรูปแบบใหม่
..............................................................................................................
ข้อเสนอแนะจากบทเรียนทางยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี
ข้อเสนอแนะทางยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ข้อเสนอแนะทางยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลควรมีการป้องกันทางยุทธศาสตร์โดยการผ่านพระราชบัญญัติการชุมนุมในที่มวลชน พ.ศ....เพื่อตัดไฟเสียแต่ต้นลม ป้องกันมิให้ปริมาณการชุมนุมมีมวลชนมากขึ้น และขยายระยะกว้างจนกระทั่งไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ และกรณีที่มีกฎหมายนี้เด็ดขาดตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อจัดการกับแกนนำที่จะสร้างสถานการณ์และก่อให้เกิดเหตุการณ์บานปลาย แล้วใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการ ซึ่งมีแต่ความสูญเสีย โดยเฉพาะชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ทั้งยังจะกลายเป็นรอยแผลเป็นของสังคมไทยตราบนานเท่านาน
2.รัฐบาลควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติยุทธการกระชับวงล้อมครั้งนี้ เพื่อให้ฝ่ายทหารได้นำนโยบายไปกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหาร ยุทธการ และลงรายละเอียดทางยุทธวิธี เพื่อเป็นหลักประกันสุดท้ายขององค์กรที่บังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.รัฐบาลควรได้ประเมินถึงผลความเดือดร้อนของประชาชนโดยรอบพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ กรณีมีมาตรการตัดน้ำตัดไฟ เพื่อเตรียมการสำหรับความช่วยเหลือเบื้องต้น ยกตัวอย่างเช่น การอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ความขัดแย้งไปยังพื้นที่ไม่ปลอดภัย
4.รัฐบาลควรแสดงความมีเอกภาพระหว่างรัฐบาลกับกองทัพตั้งแต่เบื้องต้น เพื่อให้สังคมเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นว่า ทุกมาตรการที่รัฐบาลสั่งให้กองทัพปฏิบัตินั้น เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
5.รัฐบาลควรให้ ศอฉ.สรุปบทเรียนการปฏิบัติทั้งหมด ทั้งในแง่โครงสร้างการจัด การอำนวยการ แง่กฎหมาย ภาพพจน์ของประเทศในสายตาของนานาชาติ ผลกระทบที่เกิดขึ้นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร
6.ศอฉ.ควรได้มีการประเมินการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations) ว่า มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ขณะปฏิบัติการควรได้ประเมินข่าวและสถานการณ์จากสื่อมวลชนทุกประเภทด้วย และรัฐบาลควรได้นำบทเรียนครั้งนี้ไปสู่การกำหนดนโยบายการปฏิบัติการข่าวสารในระดับรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
7.กองทัพควรได้ศึกษาถึงการปรากฏตัวของผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพ ในแต่ห้วงของการปฏิบัติในช่องทางของ ศอฉ.ว่า ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ความมั่นใจและการยอมรับของประชาชนว่าเป็นอย่างไร
8.กองทัพควรได้นำบทเรียนการปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาของทหาร เช่น หลักสูตรการก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบ หลักสูตรการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในเมือง หลักสูตรการรบในเมือง หลักสูตรการปราบจลาจล เป็นต้น
9. กองทัพควรได้ศึกษาบทเรียนของการปฏิบัติการในแง่กฎหมายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษในกรณีของการก่อการร้าย คดีจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ คดีงดทำธุรการทางการเงินของบริษัท กลุ่มบุคคล หรือบุคคล
10.รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณให้กับกองทัพในการเตรียมกำลัง อาวุธยุทธโธปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์พิเศษ เพื่อภารกิจการปราบจลาจลคู่ขนานไปกับภารกิจการต่อต้านการก่อการร้าย และแยกแยะกลุ่มก่อการร้ายออกจากผู้ชุมนุมที่บริสุทธิ์
11.รัฐบาลควรได้กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์ กรณีแกนนำประกาศยุติการชุมนุมแต่มวลชนไม่ยอมรับ ทำให้มวลชนเกิดอาการโกรธแค้น ผิดหวังบุกเผาทำลายและก่อการจลาจลอย่างรุนแรงทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
12.กองทัพควรดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับทหารนอกแถวที่ฝักใฝ่ทางการเมืองอย่างชัดแจ้ง เช่นกรณีการพยายามเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะจะทำให้ภาพพจน์ของกองทัพในสายตาประชาชนเสียหาย
2.รัฐบาลควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติยุทธการกระชับวงล้อมครั้งนี้ เพื่อให้ฝ่ายทหารได้นำนโยบายไปกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหาร ยุทธการ และลงรายละเอียดทางยุทธวิธี เพื่อเป็นหลักประกันสุดท้ายขององค์กรที่บังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.รัฐบาลควรได้ประเมินถึงผลความเดือดร้อนของประชาชนโดยรอบพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ กรณีมีมาตรการตัดน้ำตัดไฟ เพื่อเตรียมการสำหรับความช่วยเหลือเบื้องต้น ยกตัวอย่างเช่น การอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่ความขัดแย้งไปยังพื้นที่ไม่ปลอดภัย
4.รัฐบาลควรแสดงความมีเอกภาพระหว่างรัฐบาลกับกองทัพตั้งแต่เบื้องต้น เพื่อให้สังคมเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นว่า ทุกมาตรการที่รัฐบาลสั่งให้กองทัพปฏิบัตินั้น เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
5.รัฐบาลควรให้ ศอฉ.สรุปบทเรียนการปฏิบัติทั้งหมด ทั้งในแง่โครงสร้างการจัด การอำนวยการ แง่กฎหมาย ภาพพจน์ของประเทศในสายตาของนานาชาติ ผลกระทบที่เกิดขึ้นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการทหาร
6.ศอฉ.ควรได้มีการประเมินการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations) ว่า มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ขณะปฏิบัติการควรได้ประเมินข่าวและสถานการณ์จากสื่อมวลชนทุกประเภทด้วย และรัฐบาลควรได้นำบทเรียนครั้งนี้ไปสู่การกำหนดนโยบายการปฏิบัติการข่าวสารในระดับรัฐบาลมากน้อยเพียงใด
7.กองทัพควรได้ศึกษาถึงการปรากฏตัวของผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพ ในแต่ห้วงของการปฏิบัติในช่องทางของ ศอฉ.ว่า ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ความมั่นใจและการยอมรับของประชาชนว่าเป็นอย่างไร
8.กองทัพควรได้นำบทเรียนการปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาของทหาร เช่น หลักสูตรการก่อการร้ายและการก่อความไม่สงบ หลักสูตรการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในเมือง หลักสูตรการรบในเมือง หลักสูตรการปราบจลาจล เป็นต้น
9. กองทัพควรได้ศึกษาบทเรียนของการปฏิบัติการในแง่กฎหมายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษในกรณีของการก่อการร้าย คดีจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ คดีงดทำธุรการทางการเงินของบริษัท กลุ่มบุคคล หรือบุคคล
10.รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณให้กับกองทัพในการเตรียมกำลัง อาวุธยุทธโธปกรณ์ ยานพาหนะ อุปกรณ์พิเศษ เพื่อภารกิจการปราบจลาจลคู่ขนานไปกับภารกิจการต่อต้านการก่อการร้าย และแยกแยะกลุ่มก่อการร้ายออกจากผู้ชุมนุมที่บริสุทธิ์
11.รัฐบาลควรได้กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์ กรณีแกนนำประกาศยุติการชุมนุมแต่มวลชนไม่ยอมรับ ทำให้มวลชนเกิดอาการโกรธแค้น ผิดหวังบุกเผาทำลายและก่อการจลาจลอย่างรุนแรงทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
12.กองทัพควรดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับทหารนอกแถวที่ฝักใฝ่ทางการเมืองอย่างชัดแจ้ง เช่นกรณีการพยายามเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะจะทำให้ภาพพจน์ของกองทัพในสายตาประชาชนเสียหาย
ข้อเสนอแนะทางยุทธการ ประกอบด้วย สาระสำคัญดังต่อไปนี้
1.กองทัพบกควรกำหนดแผนยุทธการในกรณีการสลายการชุมนุม การขอคืนพื้นที่ การกระชับวงล้อม ให้มีความอ่อนตัวซึ่งแต่ละแผนยุทธการต้องสามารถปฏิบัติได้จริงตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดให้ ภายใต้กฎการใช้กำลังที่ชัดเจนและเข้มงวด
2.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้กำหนดแผนการต่อต้านการจลาจล เพื่อรับมือกรณีมวลชนไร้แกนนำ บ้าคลั่ง บุกเผา โจมตีสถานที่ต่าง ๆ ในขั้นการก่อจลาจลทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
3.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้มีการศึกษาบทเรียนประสบการณ์งานระดับยุทธการในการปฏิบัติการครั้งนี้เพื่อกำหนดต้นแบบ และหลักนิยมของกองทัพบกที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับเหตุการณ์ก่อความไม่สงบในเมืองตั้งแต่ความขัดแย้งของการเมืองเริ่มต้น การชุมนุมขนาดใหญ่อย่างสงบไม่เกินขอบเขตกฎหมาย การชุมนุมที่ผิดกฎหมาย บทบาทของกองทัพบกในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเป็นกรณี ๆ ไป
4.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้มากขึ้นถึงเส้นทางหรือพื้นที่ปลอดภัยที่ผู้ชุมนุมจะสลายตัวไป พร้อมให้ความมั่นใจว่าเป็นเส้นทางและพื้นที่ปลอดภัยจริง ๆ
5.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้มีการพิจารณาการใช้หน่วยระดับกองพลให้เหมาะสมกับภารกิจและมีความคุ้นเคยกับพื้นที่ปฏิบัติการในเมือง
6.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้มีการติดตาม ตรวจสอบ พฤติกรรม พฤติการณ์ของนายทหารนอกแถวที่มีทัศนคติฝักใฝ่ทางการเมือง โดยควรมีการลงโทษอย่างเด็ดขาด เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง เพราะกลุ่มคนพวกนี้จะนำแนวคิดทางยุทธการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในเมืองไปถ่ายทอดให้กลุ่มการเมือง เพื่อนำมาซึ่งการก่อการร้ายได้
7.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้พิจารณาถึงหลักการจู่โจมในการปฏิบัติว่า ควรกำหนดการจู่โจมขั้นต้นใดได้บ้าง บางครั้งอาจจะต้องเพิ่มเติมในส่วนของแผนการลวง โดยเฉพาะการแสดงกำลังและการปฏิบัติต่อต้านในการรบแบบกองโจรในเมือง
8.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรยึดถือหลักการของการมีเสรีในการใช้เวลามาเป็นบทเรียนในการปฏิบัติการครั้งต่อไป เพราะภัยคุกคามของกลุ่มก่อการร้ายที่แฝงตัวในม็อบนั้นเป็นความฝืดของสนามรบที่เป็นอุปสรรคเป็นอย่างยิ่ง เพราะเวลานี้เปิดกว้างในกรอบแผนยุทธการ กรอบสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องมีเวลาเพื่อการตัดสินใจ และการมุ่งแต่ความสำเร็จมากเกินไปก็อาจปฏิบัติการล้มเหลวได้สูง
9.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้มีการสนับสนุน พล.ม.2 รอ. ในภารกิจการปฏิบัติรบในเมืองอย่างเต็มขนาด เพื่อจะเป็นหลักประกันว่าการบุกทะลวงแนวตั้งรับของกลุ่มประท้วงในอนาคตนั้น แนวป้อมปราการอาจจะแข็งแกร่งมากกว่าครั้งนี้ก็เป็นไปได้
10.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้นำแผนยุทธการกระชับวงล้อมครั้งนี้ไปศึกษา แล้วจัดทำเป็นหลักสูตรการฝึกประจำปี ในภารกิจการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ รวมทั้งมีการซักซ้อมแผนการปฏิบัติในพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการตั้งเวทีปราศรัยถาวรเต็มพื้นที่กรุงเทพฯ
11.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรมีการจัดโครงการกองทัพบกประชาชนในพื้นที่ของชุมนุมบ่อนไก่ ถนนพระราม 4 และชุมชนสามเหลี่ยมดินแดง ถนนดินแดง-อนุสาวรีย์ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อประชาชนกับเหตุผลของการปฏิบัติการทางทหาร ณ ช่วงเวลา
12.กองทัพบกผ่าน ศอฉ. ควรได้มีการสร้างตัวตายตัวแทนของโฆษก ศอฉ. เพื่อเตรียมการสำหรับโฆษก กอ.รส.ในอนาคต และควรได้ศึกษาเตรียมการก่อนล่วงหน้า
ข้อเสนอแนะทางยุทธวิธี ประกอบด้วยสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้
1.ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธี ควรมีวินัยและความอดทนสูงเยี่ยม และพร้อมปฏิบัติงานเกินกรอบเวลาที่กำหนด อย่างน้อยต้องเตรียมการ เตรียมใจ เตรียมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างน้อย 7 วัน (กรณี 3 วันนั้นน้อยเกินไป) ถ้ามีการต่อต้านอย่างหนัก เช่น กรณีชุมนุมบ่อนไก่)
2.ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธี ควรมั่นใจ เชื่อมั่นที่รองรับด้วยเหตุผลว่า ภารกิจทางยุทธวิธีนั้นสอดรับกับแผนยุทธการ และแผนยุทธศาสตร์ของ ศอฉ. และรัฐบาล
3.ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธีควรมีการรักษาความลับในการปฏิบัติการ ทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติการ เพื่อมิให้เป็นพยานหลักฐานทางกฎหมายกับกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลหยิบยกไปเปิดเผยต่อสื่อมวลชน
4.ผู้บังคับบัญชาหน่วยระดับยุทธวิธีควรปฏิบัติภายใต้การรักษาชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์เป็นที่สำคัญที่สุด และต้องควบคุมการลั่นไกกระสุนจริงโดยมีสติ และมีเจตนารมณ์ อย่างให้กำลังพลปฏิบัติด้วยความโมโห หรือการแก้แค้นเป็นอันขาด
5.ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ถืออาวุธ ควรถืออาวุธและใช้อาวุธในรูปแบบการฝึกที่ปลอดภัยที่สุด ควรระลึกเสมอว่า การลั่นไกหนึ่งนัด อาจจะทำให้รัฐบาลล่มได้
6.การดำเนินกลยุทธ์ ควรกระทำด้วยความระมัดระวังและไม่ประมาท ต้องมีวิจารณญาณสูงในการแยกแยะผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงออกจากผู้ชุมนุมที่บริสุทธิ์โดยเฉพาะเด็ก ผู้หญิง และคนชรา
7.การทำงานกับสื่อมวลชน ควรกำหนดพื้นที่ห้ามเข้า พื้นที่อันตราย และควรมีชุดถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของกองทัพที่มีความสามารถสูงในการเก็บภาพเพื่อเป็นหลักฐานในการปฏิบัติบวกของกำลังทหาร
8.การจัดชุดรบ เอนกประสงค์สำหรับภารกิจในเมืองควรประกอบกำลังด้วยชุดรถยานยนต์หุ้มเกราะ ชุดทหารราบ ชุดพลซุ่มยิง ชุดกู้ระเบิด ชุดผจญเพลิง ชุดถ่ายภาพและชุดปราบจลาจลที่พร้อมสลับหน้าที่ และเปลี่ยนเครื่องอุปกรณ์แต่งภายใน 3 ภารกิจหลัก คือ (1) ชุดรบในเมือง (2) ชุดปราบจลาจล (3) ชุดตั้งรับเพื่อตรีงพื้นที่
9.อุปสรรค์สำคัญของการเคลื่อนที่เข้ากระชับวงล้อม คือ พลซุ่มยิงของ นปช. ดังนั้นในระดับยุทธวิธีควรมีการผลิตพลซุ่มยิงเร่งด่วนของหน่วยระดับกรมของกองทัพบกเพื่อรับภารกิจในกรุงเทพฯ และภูมิภาคในอนาคต
10.ควรศึกษาจัดทำบทเรียนการปฏิบัติ ในกรณี 10 เมษายน พื้นที่แยกคอกวัว กรณี 28 เมษายน พื้นที่อนุสรณ์สถาน กรณี 13 พฤษภาคม การลอบยิงเสธ.แดง และกรณียุทธการกระชับวงล้อม เพื่อจัดทำเป็นคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติระดับยุทธวิธีของกองทัพบก
11.การจัดทำบังเกอร์เร่งด่วนสำเร็จรูป เพื่อให้หน่วยปฏิบัติระดับยุทธวิธีใช้ได้ทันที เมื่อต้องปรับภารกิจจากการสลายการชุมนุม หรือการปราบจลาจล เป็นการตั้งรับอย่างเร่งด่วนตามแนวเส้นทางเดินเท้า
12.ควรมีการศึกษาค้นหาตัวแบบที่เหมาะสมในการกำหนดพื้นที่ที่ใช้กระสุนจริง เพราะปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีประเทศใดในระดับนานาชาติที่ได้นำมาปฏิบัติในการสลายการชุมนุมที่ได้รับการยอมรับ
13.ควรมีการศึกษา และค้นหาเทคนิคการใช้พลซุ่มยิงในสถานการณ์การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในเมือง ใน 3 พื้นที่หลัก คือ (1) พื้นราบ (2) บนสะพานลอยข้ามถนน (3) อาคารสูง
14.ควรถอนตัวออกมาจากพื้นที่ชุมนุมไม่ว่าจะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหรือไม่เมื่อใกล้เวลามืดค่ำ เพื่อป้องกันการลอบยิงจากพลซุ่มยิงที่ยังหลงเหลืออยู่ ไม่เช่นนั้นจะพบกับความสูญเสียโดยไม่จำเป็น
15.ควรมีการศึกษาตัวแบบของการใช้รถหุ้มเกราะในภารกิจกระชับวงล้อมที่เหมาะสม ถูกต้องตามหลักนิยม
16.การเคลียร์พื้นที่เพื่อการตรวจค้น ผู้ตรวจค้นควรใส่ถุงมือเพื่อป้องกันลายมือแอบแฝงในวัตถุพยาน พร้อมถ่ายรูปสภาพเดิมก่อนการตรวจค้น เพื่อใช้ประโยชน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ต่อไป
สรุป
บทเรียนยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ แม้ว่าในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธิวิธีจะได้บทสรุปออกมาในเชิงประสบความสำเร็จเสียเป็นส่วนใหญ่ ในระดับรัฐบาล ศอฉ. กองทัพบก และหน่วยปฏิบัติ ผลสำเร็จครั้งนี้สร้างความโล่งใจให้กับสังคมไทยได้ไม่กี่นาที แต่ภายหลังผลการประกาศยุติการชุมนุมของแกนนำสถานการณ์ที่กำลังลดดีกรีความรุนแรงลง กลับกลายเป็นการประทุขึ้นของยุทธการเผาบ้านเผาเมืองก่อการจลาจลจากความโกรธแค้น ผิดหวังของมวลชนคนเสื้อแดงแดงทั้งแผ่นดิน แต่เป็นการแดงด้วยเปลวเพลิง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด นั่นคือ บทเรียนสงครามจลาจลเผาบ้านเผาเมืองที่ยังไม่ได้เขียน แต่ได้สร้างความหายนะให้กับประเทศนี้ไปเรียบร้อยแล้ว สมกับหนังสือพิมพ์ใหญ่ฉบับหนึ่งได้พาดหัวข่าวในวันรุ่งขึ้นวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ว่า "ประเทศพินาศ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น