โดย สรกล อดุลยานนท์
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 28 มกราคม 2555)
"ภาพรวมความสัมพันธ์ไทย-ซิมบับเว อยู่ในระดับราบรื่นแต่ไม่ใกล้ชิด"
นั่นคือ ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศซิมบับเว ในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ
ข้อมูลนี้อัพเดตล่าสุด คือ วันที่ 22 มิถุนายน 2554
คนที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชื่อ "กษิต ภิรมย์"
โฆษกกระทรวงชื่อ "ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต"
ข้อมูลในเว็บไซต์ไล่เรียงความเป็นมาของประเทศซิมบับเวอย่างละเอียดยิบ
มีตอนหนึ่งพูดถึงตอนที่เอกอัครราชทูตสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดาเข้าพบรองอธิบดีกรมเอเชียใต้ฯเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อโน้มน้าวให้ไทยร่วมดำเนินมาตรการ Smart Sanctions ห้ามนายโรเบิร์ต มูกาเบ และพวกเดินทางเข้าไทย
แต่ฝ่ายไทยไม่เห็นด้วยต่อมาตรการกดดันที่ไม่ได้อยู่ภายใต้มติของสหประชาชาติ
ประเด็นนี้น่าสนใจมาก เพราะแสดงว่ารัฐบาลไทยตลอดมายึดถือกติกาสากล
ไม่ทำตัวเป็น "ลูกไล่" ของสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก
ไม่ถือว่า "สหรัฐอเมริกา" คือ "ความถูกต้อง"
กระทรวงการต่างประเทศสมัย "กษิต-ชวนนท์" ก็น่าจะดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบนี้
ไม่เช่นนั้นเราคงจะเลียนแบบสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้ากับ "ซิมบับเว" ไปแล้ว
มุมมองของ "ไทย" ต่อ "ซิมบับเว" คือมุมมองของสหประชาชาติ
ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา
แต่กรณีของ "นลินี ทวีสิน" วันนี้ พรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะ "ชวนนท์" กำลังใส่แว่นของ "สหรัฐ" มอง "ซิมบับเว"
เชื่อทุกอย่างที่สหรัฐบอก
ถ้าใช้แว่นตา "เมด อิน ยูเอสเอ" แบบนี้ เมื่อ 4 ปีก่อน เขาคงมอง "เนลสัน แมนเดลา" เป็น "ผู้ก่อการร้าย"
เพราะ "แมนเดลา" บุรุษแห่งสันติภาพผู้นี้เคยอยู่ในบัญชีดำของสหรัฐอเมริกามากว่า 20 ปี
เพิ่งได้รับการเพิกถอนไปเมื่อปี 2551
แต่ถ้าเราคิดแบบประเทศไทยมีเอกราช มีอธิปไตยของตนเอง ไม่ได้เป็นอาณานิคมของสหรัฐ
เราจะมองปัญหานี้อีกแบบหนึ่งทันที
เหมือนที่ "มีชัย ฤชุพันธุ์" เขียนในเว็บไซต์
อย่าลืมว่า วันนี้ยังไม่เคยมีหลักฐานใดพิสูจน์ว่า "นลินี" เคยทำการค้าร่วมกับประธานาธิบดีมูกาเบ ของซิมบับเวมาก่อน
มีแต่ "สหรัฐ" บอกมา
และถึงจะทำการค้าจริง ตราบใดที่ไม่ได้ค้ายาเสพติด ค้ามนุษย์ ฯลฯ
ความผิดที่เกิดขึ้นจะแตกต่างจากคนที่ทำการค้ากับประธานาธิบดีมูบารักของอียิปต์ "ขิ่นยุ้นต์" ของพม่า "กาดาฟี" ของลีเบีย ฯลฯ อย่างไร
เมื่อผู้นำประเทศเหล่านี้ล้วนแต่เคยเข่นฆ่าสังหารบุคคลที่มีความคิดต่างทางการเมืองมาแล้วทั้งสิ้น
อย่าลืมว่าตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนหลัก "กาลามสูตร" ไว้
มีอยู่ 10 ข้อ
อย่าเชื่อเพราะฟังตามๆ กันมา ทำต่อๆ กันมา คำเล่าลือ อ้างตำรา ฯลฯ
แต่วันนี้สงสัยว่าสังคมไทยต้องเพิ่มหลักกาลามสูตร ข้อที่ 11
...อย่าเชื่อเพียงเพราะสหรัฐบอกมา...
"ภาพรวมความสัมพันธ์ไทย-ซิมบับเว อยู่ในระดับราบรื่นแต่ไม่ใกล้ชิด"
นั่นคือ ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศซิมบับเว ในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ
ข้อมูลนี้อัพเดตล่าสุด คือ วันที่ 22 มิถุนายน 2554
คนที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชื่อ "กษิต ภิรมย์"
โฆษกกระทรวงชื่อ "ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต"
ข้อมูลในเว็บไซต์ไล่เรียงความเป็นมาของประเทศซิมบับเวอย่างละเอียดยิบ
มีตอนหนึ่งพูดถึงตอนที่เอกอัครราชทูตสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดาเข้าพบรองอธิบดีกรมเอเชียใต้ฯเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อโน้มน้าวให้ไทยร่วมดำเนินมาตรการ Smart Sanctions ห้ามนายโรเบิร์ต มูกาเบ และพวกเดินทางเข้าไทย
แต่ฝ่ายไทยไม่เห็นด้วยต่อมาตรการกดดันที่ไม่ได้อยู่ภายใต้มติของสหประชาชาติ
ประเด็นนี้น่าสนใจมาก เพราะแสดงว่ารัฐบาลไทยตลอดมายึดถือกติกาสากล
ไม่ทำตัวเป็น "ลูกไล่" ของสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก
ไม่ถือว่า "สหรัฐอเมริกา" คือ "ความถูกต้อง"
กระทรวงการต่างประเทศสมัย "กษิต-ชวนนท์" ก็น่าจะดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบนี้
ไม่เช่นนั้นเราคงจะเลียนแบบสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้ากับ "ซิมบับเว" ไปแล้ว
มุมมองของ "ไทย" ต่อ "ซิมบับเว" คือมุมมองของสหประชาชาติ
ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา
แต่กรณีของ "นลินี ทวีสิน" วันนี้ พรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะ "ชวนนท์" กำลังใส่แว่นของ "สหรัฐ" มอง "ซิมบับเว"
เชื่อทุกอย่างที่สหรัฐบอก
ถ้าใช้แว่นตา "เมด อิน ยูเอสเอ" แบบนี้ เมื่อ 4 ปีก่อน เขาคงมอง "เนลสัน แมนเดลา" เป็น "ผู้ก่อการร้าย"
เพราะ "แมนเดลา" บุรุษแห่งสันติภาพผู้นี้เคยอยู่ในบัญชีดำของสหรัฐอเมริกามากว่า 20 ปี
เพิ่งได้รับการเพิกถอนไปเมื่อปี 2551
แต่ถ้าเราคิดแบบประเทศไทยมีเอกราช มีอธิปไตยของตนเอง ไม่ได้เป็นอาณานิคมของสหรัฐ
เราจะมองปัญหานี้อีกแบบหนึ่งทันที
เหมือนที่ "มีชัย ฤชุพันธุ์" เขียนในเว็บไซต์
อย่าลืมว่า วันนี้ยังไม่เคยมีหลักฐานใดพิสูจน์ว่า "นลินี" เคยทำการค้าร่วมกับประธานาธิบดีมูกาเบ ของซิมบับเวมาก่อน
มีแต่ "สหรัฐ" บอกมา
และถึงจะทำการค้าจริง ตราบใดที่ไม่ได้ค้ายาเสพติด ค้ามนุษย์ ฯลฯ
ความผิดที่เกิดขึ้นจะแตกต่างจากคนที่ทำการค้ากับประธานาธิบดีมูบารักของอียิปต์ "ขิ่นยุ้นต์" ของพม่า "กาดาฟี" ของลีเบีย ฯลฯ อย่างไร
เมื่อผู้นำประเทศเหล่านี้ล้วนแต่เคยเข่นฆ่าสังหารบุคคลที่มีความคิดต่างทางการเมืองมาแล้วทั้งสิ้น
อย่าลืมว่าตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนหลัก "กาลามสูตร" ไว้
มีอยู่ 10 ข้อ
อย่าเชื่อเพราะฟังตามๆ กันมา ทำต่อๆ กันมา คำเล่าลือ อ้างตำรา ฯลฯ
แต่วันนี้สงสัยว่าสังคมไทยต้องเพิ่มหลักกาลามสูตร ข้อที่ 11
...อย่าเชื่อเพียงเพราะสหรัฐบอกมา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น