Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

โดยทีมข่าว Sunai Fan Club

          กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา (exterior act indicates interior secret แปลว่า การกระทำภายนอกบ่งบอกถึงความลับภายใน) ภาษิตนี้เป็นหลักกฎหมายอาญา ไว้สำหรับพิจารณาพฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยเพื่อกำหนดฐานความผิดของจำเลย โดยพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ และยังใช้แยกเจตนาฆ่าออกจากเจตนาทำร้าย เพราะเจตนาฆ่าย่อมมีโทษหนักกว่าเจตนาทำร้าย ทั้งนี้ เนื่องจากเจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำไม่มีใครหยั่งรู้ได้ ในการวินิจฉัยหรือพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนาฆ่าหรือเพียงแต่มีเจตนาทำร้ายเท่านั้นจึงต้องถือหลักว่า "การกระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำ" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" นั่นเอง
          ดังนั้นจากบทความที่นำเสนอนี้ก็คงใช้หลักคิดแห่ง "วิญญูชน" (กฎหมาย) (reasonable person หรือ person of ordinary prudence), บุคคลผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ; คิดได้ว่ามีเจตนาเช่นไร? เมื่อไม่ยอมให้ความร่วมมือในชั้นสอบส่วนส่งมอบ ปืนและรถยนตร์ เพื่อตรวจพิสูจน์หาความจริง จะให้ประชาชนคิดเป็นอย่างไรได้ว่า "ส.ส.ผู้ทรงเกียติในสภา" โดยเฉพาะ ส.ส.ที่มาจากพรรคการเมืองเก่าแก่และถูกยกย่องจากผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองว่าเป็น "พรรคการเมืองที่มีคุณธรรมสูง" จะให้ประชาชนเชื่อได้อย่างไรว่ามีคุณธรรมอย่างเช่นที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองนั้นเป็นจริงดังท่านว่า !!!

 0000000

ทุกอาชญากรรมย่อมมีร่องรอยเสมอ

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 13 มกราคม 2555)
โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน

เมื่อมีอาชญากรรมเกิดขึ้น ย่อมต้องมีร่องรอยทิ้งไว้เสมอ เป็นหลักแห่งกระบวนการยุติธรรมที่ประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ ได้ยินได้ฟังกันบ่อยๆ ซึ่งก็เป็นความจริงเช่นนั้น พิสูจน์กันให้เห็นมานักต่อนัก หลายต่อหลายคดี

แต่แทนที่จะได้รู้ได้เห็นกันแล้ว ยิ่งต้องละเว้นจากการก่ออาชญากรรม


เพราะสุดท้ายร่องรอยเหล่านั้นจะย้อนกลับมามัดผู้กระทำอย่างแน่นอน


บางทีขณะก่อเหตุ อาจกระทำลงไปด้วยอารมณ์ชั่ววูบ แต่หลังจากนั้นแม้พยายามกลบเกลื่อนร่องรอย แต่ไม่มีทางหมดสิ้นไป กลับจะสร้างร่องรอยใหม่ๆ ย้อนกลับมามัดตัวเองในที่สุด


หลักในการตรวจหาร่องรอยอาชญากรของเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมมีด้วยกันหลายวิธีการ หนึ่งในนั้นคือ การใช้นิติวิทยาศาสตร์ การตรวจพิสูจน์หลักฐาน

ในคดีครึกโครมเกรียวกราวระยะนี้ ที่มี ส.ส.สมุทรสาคร ตกเป็นผู้ต้องหาว่าใช้อาวุธปืนยิงนายก อบจ.จังหวัดเดียวกัน จนถึงแก่ความตาย


จะเห็นได้ว่า ผู้ถูกกล่าวหาได้ใช้สิทธิของตนเองอย่างเต็มเปี่ยม ด้วยการปฏิเสธไม่ส่งมอบอาวุธปืนพกของตนเองที่จดทะเบียนไว้ และมีขนาดเดียวกับอาวุธที่ยิงคนตายในคดีนี้


ไปจนถึงไม่ยอมส่งมอบรถ ตามที่พยานระบุว่าใช้ขับหลบหนี และวงจรปิดของปั๊มน้ำมันที่เกิดเหตุจับภาพรถคันนี้เอาไว้ได้


แม้ว่าทั้งอาวุธปืนและรถของ ส.ส.คนดังกล่าว จะตรงกับปืนและรถตามที่มีพยานหลักฐานระบุไว้ แต่ก็ยืนกรานไม่ส่งให้ตรวจสอบ


กระนั้นก็ตาม สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดี จะหยุดนิ่งนั่งรอคงไม่ได้


แม้ไม่มีปืนไม่มีรถ


แต่ก็สามารถตรวจปลอกกระสุนที่ตกในที่เกิดเหตุ จนได้ดีเอ็นเอของบุคคลที่ปรากฏบนหลักฐานชิ้นนี้ได้


เพราะโดยหลักทั่วไปแล้ว เจ้าของอาวุธปืนล้วนบรรจุลูกกระสุนปืนด้วยมือของตนเอง


ดีเอ็นเอที่ได้จากกระบวนการตรวจหาร่องรอยของเจ้าหน้าที่ โดยไม่รอความร่วมมือจากผู้ต้องหา จะกลายเป็นหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือในชั้นศาลต่อไป


รวมถึงรถก็เช่นกัน เมื่อไม่ส่งมาให้ เจ้าหน้าที่คงไม่เพียงนั่งรอแล้วปล่อยให้คดีตีบตัน


การตรวจหาร่องรอยรถคันนี้เพื่อใช้มัดตัวผู้กระทำผิด ยังดำเนินต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น