Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

อุดมการณ์ที่กำลังจะถูกลบออกไปจาก “ธรรมศาสตร์”

ทีมข่าว Sunai Fan Club
จาก facebook WoodykaiChiangMai



ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน
วาทะสำคัญนี้มีต้นเค้ามาจากบทความอันลือลั่นของกุหลาบ สายประดิษฐ์ สะท้อนชัดหลักการของประชาคมธรรมศาสตร์ นับแต่มหาวิทยาลัยนี้กำเนิดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2477 ภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตย เสรีภาพ และความเสมอภาคทางการศึกษา ธรรมศาสตร์จึงเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสาธารณชน ที่พัฒนาสืบเนื่องตลอดระยะเวลากว่าเจ็ดทศวรรษ จากความเป็นตลาดวิชาสู่มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ โดย ผู้ประศาสน์การคนแรกของมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์  ปรัชญาของการตั้งมหาวิทยาลัย ปรากฏตามสุนทรพจน์ ของท่าน รายงานต่อผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ มีดังนี้ "...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา..."

สิ่งเหล่านี้กำลังจะถูกลบหายไปโดยการส่งคนของอำมาตย์เข้ามาแทรกแซงเพื่อที่บิดเบือนและลบล้างอุดมการณ์ที่มีอยู่เดิมออกไปเสียให้สิ้นซาก จากพฤติกรรมที่ผ่านมาของ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีคนปัจจุบันได้มีจิตใจโน้มเอียงไปทางด้านอำมาตย์อย่างชัดเจน ตั้งแต่เปิดให้มีการเครื่องไหวของ กลุ่ม พธม. เรื่อยมาตั้งแต่ปี 51 จนถึงปัจจุบัน แต่กลับทำตัวเป็นปรปักษ์กับประชานชนเรื่อยมา ล่าสุดนี้ก็ทำให้เห็นชัดเจนแล้วว่าได้ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่สั่งการให้มีการหยุดการเครื่องไหวของคณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ต่อกรณี ม.112 เมื่อไม่นานนี้ส่งผลให้ประชาชนที่กำลังเฝ้าดูต่อกรณีนี้ให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ได้เลยว่า ธรรมศาสตร์ได้ถูกครอบงำและกำลังถูกลบอุดมการณ์ที่มีมาช้านานไปออกไปจากรั่วมหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักของศิษย์ธรรมศาสตร์และประชาชนแล้วจริง

นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ ท่านจงเลือกเถิดว่าจะอยู่ข้างประชาชนหรืออยู่ข้างตรงข้ามกับประชาชน แต่การกระทำทั้งหมดนั้นผมและพี่น้องประชาชนคิดว่าท่านได้เลือกแล้วและคิดว่าตัวท่านเองก็ได้เลือกแล้วเช่นกัน อำนาจที่คุ้มกะลาหัวท่านก็กำลังจะเสื่อมอำนาจลงไปอีกไม่ช้านาน  จงใช้ชีวิตที่เหลือของท่านอย่างอัปยศอดสูและเดียวดายเถิด

หากท่านจะกลับตัวกลับใจตอนนี้ก็ยังไม่สายเกินไป...
ขอให้โชคดีจงมีแด่ท่านผู้เจริญทางจิตใจและดวงตาเห็นธรรมด้วยเถิด

0000000

บทความที่เกี่ยวข้อง

แถลงเกรียนชี้แจงเพิ่มเติมเรื่องไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองกรณีมาตรา 112

แถลงเกรียนชี้แจงเพิ่มเติมเรื่องไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองกรณีมาตรา 112

จาก facebook ชัชชวย คนทน
โดย ชัชชวย คนทนเมื่อ 31 มกราคม 2012 เวลา 2:47 น

สืบเนื่องจากที่คณะผู้บริหารฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองกรณีมาตรา 112 เพราะเกรงว่าสังคมภายนอกจะเข้าใจผิดคิดว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อันทรงเกียรติจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ อีกทั้งการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ยังถือเป็นการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่อาจนำมาซึ่งความรุนแรง เพราะเป็นการแสดงความคิดต่างทางการเมือง

การประกาศดังกล่าวมีนัยยะเป็นการประกาศมาตรฐานใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งทางคณะผู้บริหารฯ คาดว่าจะมีนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ เนื่องจากนักศึกษามักจะมีความเชื่อมั่นในสติปัญญาของตนเองสูงจนเกินควร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการชี้แจ้งเพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษามีความสำนึกในเจตนารมณ์ใหม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ดังต่อไปนี้

1. มหาวิทยาลัยขอประกาศยกเลิกการรำลึก ฟื้นฟูสถานะ ตลอดจนอ้างอิงถึงผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ และอาจาร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ด้วยเกรงว่านักศึกษาจะยึดเอาคุณธรรมและความกล้าหาญของบุคคลทั้งสองเป็นเยี่ยงอย่าง

2. ขอประกาศยกเลิกวันงานธรรมศาสตร์สามัคคี เพราะการเดินขบวนของนักศึกษาเข้ายึดมหาวิทยาลัยคืนจากทหารเมื่อ พ.ศ. 2494 เป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่งตามมาตรฐานใหม่ เนื่องจากเป็นการสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง ในทางกลับกัน ในภาวะสุ่มเสี่ยงทางการเมืองเช่นนี้นั้น ทางเลือกเดียวที่จะทำให้สังคมเกิดความสงบเรียบร้อยได้ ย่อมต้องอาศัยการรักษาความปลอดภัยโดยทหาร

3. เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอประกาศและยืนยันใหม่ว่าไม่เคยเกี่ยวข้อง ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของนักศึกษาบางส่วนกับประชาชนภายนอกที่รู้เท่าไม่ถึงการ ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมในพื้นที่สาธารณะ จนก่อให้เกิดความรุนแรง และบาดเจ็บล้มตายในท้ายที่สุด

4. เช่นเดียวกับข้อ 3 ในกรณี 6 ตุลา 2519 ให้ถือเป็นความผิดพลาดของผู้บริหารในยุคนั้นที่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงทำให้ขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจออกคำสั่งห้ามนักศึกษาใช้สถานที่

5. สืบเนื่องจากข้อ 2, 3, และ 4 ทางคณะผู้บริหารจึงห้ามจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์การเมืองของมหาวิทยาลัย เพราะทั้งหมดทั้งมวลล้วนเป็นเหตุการณ์เหลวไหลไร้สาระ ไม่ได้มีส่วนส่งเสริมให้นักศึกษาได้ดิบได้ดีในสังคมในภายภาคหน้า

6. ต่อจากนี้ไปหากนักศึกษาต้องการแสดงความคิดเห็นหรือเคลื่อนไหวทางการเมืองให้นักศึกษาไปแสดงออกในห้องส้วมขณะขับถ่าย โดยสามารถขีดเขียนฝาผนังได้ตามใจชอบ ทางมหาวิทยาลัยจะได้จัดปากกาเคมีชนิดลบไม่ออกให้อย่างพอเพียงทุกตารางนิ้ว

7. คำขวัญใหม่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คือ แม้โลกนี้จะมีเสรีภาพ แต่ธรรมศาสตร์ไม่เกี่ยวข้อง!

จึงแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน
คณะผู้บริหารร่างกายในยามวิกฤติ

00000000000
บทความที่เกี่ยวข้อง



ปิดฉากแล้ว'ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว' ต่อไปนี้เป็นสถานที่ราชการห้ามเข้า(เฉพาะพวกแก้112)

ตอบโต้ทันควันต่อการ "ปิดฉากแล้ว'ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว' ต่อไปนี้เป็นสถานที่ราชการห้ามเข้า(เฉพาะพวกแก้112)"

ที่มาของข้อมูลจาก ไทยอีนิวส์

แถลงการณ์คัดค้านการปิดกั้นเสรีภาพในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สืบเนื่องจากสเตตัสล่าสุดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ในเฟสบุ๊ก ใจความว่าด้วยเรื่องของการจะห้ามใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการเคลื่อนไหวทางความคิดและการขับเคลื่อนประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา112 (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) เห็นได้ชัดว่านี่เป็นการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิด และเสรีภาพทางวิชาการ ในมหาวิทยาลัยที่มีคำขวัญอันโดดเด่นว่า เสรีภาพทุกตารางนิ้ว

ที่ประชุมกรรมการบริหารมหาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยคณบดี ผู้อำนวยการสำนักสถาบันมีมติเอกฉันท์ว่ามหาลัย
คณะสำนักสถาบันจะไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา 112 อีกต่อไป เพราะมหาลัยเป็นสถานที่ราชการ การอนุญาตต่อไปอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนีนการของมหาลัยหรือมหาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในบริเวณมหาลัย จนมหาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาลัยได้ (สถานะบนเฟซบุ๊คของสมคิด)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นเป็นพื้นที่สำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่เป็นผลผลิตของคณะราษฎรที่จะมุ่งหวังในการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย มหาวิทยาลัยผ่านประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมืองมาโดยตลอดตั้งแต่ ขบวนการ11ตุลาคม2494 ในการเรียกร้องมหาวิทยาลัยคืนจากจอมพล ป., ขบวนการ14ตุลา 2516, ขบวนการ 6ตุลา2519, ฯลฯ เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นพื้นที่สาธารณะในการส่งเสริมความคิดทางการเมือง และประชาธิปไตย การเปิดให้วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่แหลมคมควรจะเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยพึงกระทำโดยไม่มีการกีดกันและคัดค้าน คงจะมิเป็นการกล่าวเกินจริงว่าพื้นที่ทางวิชาการที่สำคัญที่สุดสำหรับประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างทางความคิดมากที่สุด คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แต่มติเอกฉันท์ของผู้บริหารเพียงไม่กี่คนนำมาซึ่งการทำลายเสรีภาพในมหาวิทยาลัยอย่างร้ายแรง การจะไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยในการเคลื่อนไหวกรณีมาตรา112 เป็นการปิดกั้น ปิดปาก นักศึกษาและประชาชน ผู้กระหายในเสรีภาพทางวิชาการและความถูกต้อง เป็นการทำลายเจตนารมณ์ของผู้ประศาสน์การที่มีความมุ่งหวังว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็น บ่อบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพ ของการศึกษา.

นักศึกษา, คณาจารย์, ศิษย์เก่า แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประชาชนผู้รักในเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก ขอเรียกร้องให้ผู้บริหารทั้งหลายที่ลงมติในการไม่อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนกรณีการแก้ไขมาตรา112 กลับไปทบทวนว่าความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา เป็นพื้นที่ที่ยอมรับความหลากหลายทางความคิดและเปิดกว้างให้มีการใช้เพื่อพูดคุย ถกเถียง ประเด็นทางสังคมและการเมือง ไม่เคยมีครั้งไหนนอกจากยุคเผด็จการที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีนโยบายปิดกันไม่ให้นักศึกษาและอาจารย์แสดงเสรีภาพทางความคิด

เราขอเรียกร้องให้ผู้บริหารยกเลิกมติข้างต้น หากมหาวิทยาลัยยังมีคำขวัญที่ว่า ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้วอธิการบดีและผู้บริหารมหาวิยาลัยควรจะเห็นถึงความสำคัญของธรรมศาสตร์ในการเป็นพื้นที่สำคัญในการทำให้ความขัดแย้งบรรเทาลงและยอมให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่เปิดที่สามารถจัดกิจกรรมทางสังคม การเมือง และการวิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงอย่างเปิดกว้างอย่างที่เคยเป็นมาตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัย

ด้วยความเคารพ

รักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ อุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ นักศึกษาชั้นปีที่3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ อดีตสมาชิกสภานักศึกษาและศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2544 - 2548)

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สิงคโปร์

จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย

เพียงคำ ประดับความ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จีรนุช เปรมชัยพร อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน รหัส 29

ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อดีตกรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2553-2554)

ภัควดี วีระภาสพงษ์ ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาปรัชญา รหัส 256280

บริภัทร ตั้งเสรีกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (class of 2013)

ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พัชรี แซ่เอี้ยว อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รหัส48

สุเจน กรรพฤทธิ์ อดีตนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ รหัส 43

พันธุ์ภูมิ ผุดผ่อง กรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2554-2555)

ธันย์ ฤทธิพันธ์ ประชาชน

ภูริพัศ เมธธนากุล มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คุปต์ พันธ์หินกอง อดีตนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์

พันธกานต์ ตงฉิน อดีตนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน รหัส 48

อนุธีร์ เดชเทวพร อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 49, อดีตอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2551-2552, อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2552-2553

วันเพ็ญ ก้อนคำ/ ประชาชน

น้ําฝน ลิ่วเวหา วารสารศาสตร์48

รุ่งโรจน์ "อริน" วรรณศูทร (นิรันดร์ สุขวัจน์ มธ 159101) / ลาออกปีการศึกษา 2519 "รัฐศาสตร์ ทฤษฎีและปรัชญาการเมือง"

นุชจรีย์ วิริยางกูรภาพ อดีตนักศึกษาคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี

วรวิทย์ ไชยทอง ภาควิชาการปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬา ฯ

เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล /ประชาชน

พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รหัส 46

ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์, นิสิตเกษตรศาสตร์, รหัส ๒๕๒๕

พิศาล ธรรมวิเศษ ชาวบ้าน

ศิรดา วรสาร อดีตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 50

ธนุต มโนรัตน์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

เทพวุธ บัวทุม คนไท

มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม ราษฎร

สุเทพ ศิริวาโภ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น/ประชาชน

นายนิคม โชติพันธ์ ประชาชน

ธนพล พงศ์อธิโมกข์ CCP/ประชาชน

อดิศร เกิดมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วรัญญา เกื้อนุ่น รหัส 37 คณะนิติศาสตร์ มธ

วรรษชล ศิริจันทนันท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อภิวัฒน์ วัฒนพงษ์ อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัส 49

สุริยัน สินธทียากร ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ คณะเศรฐศาสตร์ รุ่น 24

ศิริวุฒิ บุญชื่น SEAS, ศิลปศาสตร์ '46

นวภู แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาตรี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

วีระพันธุ์ ตรีรัตน์พันธุ์ ราษฎร

ธนากร ปัสนานนท์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี3

อาดีช วารีกูล รัฐศาตร์การเมืองการปกครองม.รามและมานุษยวิทยาสาขาไทยคดีศึกษาปริญญาโท ม.ทักษิณ สงขลา

นครินทร์ วิศิษฎ์สิน บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พีระพล เวียงคำ นักกิจกรรม, นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ รหัส 4903610147,อดีตอุปนายกฯ อมธ.ปี 2551-2552

ประวิทย์ พันสว่าง นักเขียน ชาวบ้าน

แวววิศาข์ ณ สงขลา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

ราชาวดี สิริโยธิน อักษรศาสตร์ จุฬา ฯ เกียรตินิยม

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษา ป.โท คณะนิติศาสตร์ รหัส 2551

ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปินอิสระ

วินัย ผลเจริญ อดีตนักศึกษาปริญญาโทคณะศิลปศาสตร์ และปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พลิศ ลักขณานุรักษ์ อดีตกรรมการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2553-2554)

สิทธา แสนสมบูรณ์สุขนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาเยอรมัน รหัส53

นาย พิเศษ นภาชัยเทพ ราษฎร

ยศวัฒน์ ปานโต ประชาชนคนไทยที่ไม่ได้จบธรรมศาสตร์ แต่รู้จักธรรมศาสตร์จากสิทธิเสรีภาพของนักศึกษาในการแสดงออก และปรารถนาให้ธรรมศาสตร์มียึดมั่นในอุดมการณ์ในสิทธิเสรีภาพของการแสดงออก

ประชาเลิศ แซ่เจ็ง ม.รามคำแหง

พัธรพงศ์ เลิศปัญญาธรรม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประภาภูมิ เอี่ยมสม นักศึกษาชั้นปีที่2 คณะมนุษยศาสตร์ เอกอังกฤษ สถาบันการศึกษานานาชาติ ม.รามคำแหง ผุ้ซึ่งเคยชื่นชมมธ.ในฐานะมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการแสดงออกทางการเมือง

ก้าวหน้า เสาวกุล ศิลปศาสตรบัณฑิต มธ. รหัส 47

นางกนกวรรณ เกิดผลานันท์ (นางสาวกนกวรรณ โยธาทิพย์) ศิษย์เก่าคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัสนักศึกษา 3207610746

ธนพล ฟักสุมณฑา

อนุพันธุ์ หงษาชัย รัฐศาสตร์บัณฑิต ม. รามคำแหง ผู้เห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักอย่างแท้จริง

อิทธิพล โคตะมี

อชิรวิชญ์ อันธพันธ์

วรยุทธ ยอดบุญ นิสิตปริญญาโท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พรเทพ กมลเพชร เศรษฐศาสตร์บัณฑิต รหัส 48

ปองภพ บูรพกิจลาภา นักศึกษาปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

ลิขิต เครือบุญมา ศิลปศาสตร์ ปี2

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ราษฎร

เกศริน เตียวสกุล นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์รหัส ๒๐

ชัยพฤกษ์ พัฒน์ดำรงจิตร

คมลักษณ์ ไชยยะ บัณฑิตอาสาสมัคร ม.ธรรมศาสตร์รุ่น 32

ดร.อิสราภรณ์ พิศสะอาด

ลงชื่อค่ะ นารีรัตน์ นิลพิศุทธิ์ บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ณัฐญา เกิดเพชร,วารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์

แคน อุดมเจริญชัยกิจ ธรรมศาสตร์ รหัส52

วีระ หวังสัจจะโชค รัฐศาสตร์ จุฬาฯ

อรุณี พูลสวัสดิ์ ประชาชน

ตันติกร เตริยาภิรมย์ บัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เธนศก์ ล้ำเลิศ / ราษฎร

วสวัตติ์ เถื่อนคำ ประชาชน


0 0 0 0 0

เข้าพบสวัสดีปีใหม่ท่านอดีตนายกสภาสุเมธ ตันติเวชกุล ( สถานะบนเฟซบุ๊ค Somkit Lertpaithoon-สมคิด เลิศไพฑูรย์๋ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

กาลามสูตร "กษิต-ชวนนท์"ความคิดแบบตูดหมึกของเขา


โดย สรกล อดุลยานนท์

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 28 มกราคม 2555)

"ภาพรวมความสัมพันธ์ไทย-ซิมบับเว อยู่ในระดับราบรื่นแต่ไม่ใกล้ชิด"

นั่นคือ ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศซิมบับเว ในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูลนี้อัพเดตล่าสุด คือ วันที่ 22 มิถุนายน 2554

คนที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชื่อ "กษิต ภิรมย์"

โฆษกกระทรวงชื่อ "ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต"

ข้อมูลในเว็บไซต์ไล่เรียงความเป็นมาของประเทศซิมบับเวอย่างละเอียดยิบ

มีตอนหนึ่งพูดถึงตอนที่เอกอัครราชทูตสหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดาเข้าพบรองอธิบดีกรมเอเชียใต้ฯเมื่อเดือนมิถุนายน 2550 เพื่อโน้มน้าวให้ไทยร่วมดำเนินมาตรการ Smart Sanctions ห้ามนายโรเบิร์ต มูกาเบ และพวกเดินทางเข้าไทย

แต่ฝ่ายไทยไม่เห็นด้วยต่อมาตรการกดดันที่ไม่ได้อยู่ภายใต้มติของสหประชาชาติ

ประเด็นนี้น่าสนใจมาก เพราะแสดงว่ารัฐบาลไทยตลอดมายึดถือกติกาสากล

ไม่ทำตัวเป็น "ลูกไล่" ของสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก

ไม่ถือว่า "สหรัฐอเมริกา" คือ "ความถูกต้อง"

กระทรวงการต่างประเทศสมัย "กษิต-ชวนนท์" ก็น่าจะดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบนี้

ไม่เช่นนั้นเราคงจะเลียนแบบสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้ากับ "ซิมบับเว" ไปแล้ว

มุมมองของ "ไทย" ต่อ "ซิมบับเว" คือมุมมองของสหประชาชาติ

ไม่ใช่สหรัฐอเมริกา

แต่กรณีของ "นลินี ทวีสิน" วันนี้ พรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะ "ชวนนท์" กำลังใส่แว่นของ "สหรัฐ" มอง "ซิมบับเว"

เชื่อทุกอย่างที่สหรัฐบอก

ถ้าใช้แว่นตา "เมด อิน ยูเอสเอ" แบบนี้ เมื่อ 4 ปีก่อน เขาคงมอง "เนลสัน แมนเดลา" เป็น "ผู้ก่อการร้าย"

เพราะ "แมนเดลา" บุรุษแห่งสันติภาพผู้นี้เคยอยู่ในบัญชีดำของสหรัฐอเมริกามากว่า 20 ปี

เพิ่งได้รับการเพิกถอนไปเมื่อปี 2551

แต่ถ้าเราคิดแบบประเทศไทยมีเอกราช มีอธิปไตยของตนเอง ไม่ได้เป็นอาณานิคมของสหรัฐ

เราจะมองปัญหานี้อีกแบบหนึ่งทันที

เหมือนที่ "มีชัย ฤชุพันธุ์" เขียนในเว็บไซต์

อย่าลืมว่า วันนี้ยังไม่เคยมีหลักฐานใดพิสูจน์ว่า "นลินี" เคยทำการค้าร่วมกับประธานาธิบดีมูกาเบ ของซิมบับเวมาก่อน

มีแต่ "สหรัฐ" บอกมา

และถึงจะทำการค้าจริง ตราบใดที่ไม่ได้ค้ายาเสพติด ค้ามนุษย์ ฯลฯ

ความผิดที่เกิดขึ้นจะแตกต่างจากคนที่ทำการค้ากับประธานาธิบดีมูบารักของอียิปต์ "ขิ่นยุ้นต์" ของพม่า "กาดาฟี" ของลีเบีย ฯลฯ อย่างไร

เมื่อผู้นำประเทศเหล่านี้ล้วนแต่เคยเข่นฆ่าสังหารบุคคลที่มีความคิดต่างทางการเมืองมาแล้วทั้งสิ้น

อย่าลืมว่าตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนหลัก "กาลามสูตร" ไว้

มีอยู่ 10 ข้อ

อย่าเชื่อเพราะฟังตามๆ กันมา ทำต่อๆ กันมา คำเล่าลือ อ้างตำรา ฯลฯ

แต่วันนี้สงสัยว่าสังคมไทยต้องเพิ่มหลักกาลามสูตร ข้อที่ 11

...อย่าเชื่อเพียงเพราะสหรัฐบอกมา...

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

“ตั๊น..จิตภัสร์” ทายาทเบียร์สิงห์ ออกโรงต้านนิติราษฎร์

ทีมข่าว Sunai Fan Club

รองโฆษกปชป.ปลุกคนไทยต้านนิติราษฎร์

'จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี' รองโฆษกปชป. ปลุกคนไทยรวมพลังต้าน 'นิติราษฎร์' นัดรวมตัว 28 ม.ค. ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า

27 ม.ค.55 น.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (อดีตข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฉาวกรณีนำปฏิทินวาบหวิว “ลีโอ” ไปแจกในทำเนียบฯ ในสมัย อภิสิทธิ์ เป็นนายกฯ เมื่อปี’52)  เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ม.ค.นี้ เวลา 12.00 น. ตนขอเชิญชวนไปยังคนรุ่นใหม่ และผู้มีใจรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มารวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่ออ่านแถลงการณ์แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบัน และรณรงค์ต่อต้านการเคลื่อนไหวของคณะนิติราษฎร์ ที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่กระทบต่อสถาบัน

ข่าวจาก คม ชัด ลึก ออนไลน์
http://www.komchadluek.net/detail/20120127/121415/รองโฆษกปชป.ปลุกคนไทยต้านนิติราษฎร์.html.


อัพเดท ล่าสุดเมื่อเวลา 12.00 น.ดังกล่าว ปรากฏมีฝนฟ้าคะนองถล่มกรุงเทพมหานคร จนทำไมบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้ามีฝนตกหนัก และไม่ปรากฏกลุ่มคนชุมนุมคึกคักเหมือนคาดหมายแต่แรก มีเพียงคนมารอประปรายและพอฝนมาก็วิ่งสลายตัวกลับกันหมด (ฮา....) เรียกตัวช่วย "สาวลีโอ" ด่วน!! รับรองเต็ม 555
-------------------------------


ข่าวเก่ามาเล่าใหม่กระชากต่อม “งึก” ผู้ดีหน้าใสหัวใจสะอาด(หรือเปล่า?)

เนื้อข่าวเก่าจาก http://news.mthai.com/headline-news/64069.html
เมื่อ วันพฤหัสที่ 17 ธันวาคม 2552



ข่าวเก่ามาเล่าใหม่กระชากต่อม งึกผู้ดีหน้าใสหัวใจสะอาด(หรือเปล่า?)
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 17 ธ.ค. 52
"แต่ปัจจุบันนี้ ปี '55 น.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี เป็น รองโฆษก ปชป."

สาวตั๊น..จิตภัสร์ทายาทเบียร์สิงห์ร่อนหนังสือลาออกรับผิดชอบแจกปฏิทินฉาวกลางทำเนียบฯ แจงพลาดพลั้งเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ คนสนิทนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้นำหนังสือลาออกของ น.ส.จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี ข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีที่ตกเป็นข่าวนำปฏิทินวาบหวิวของเบียร์ลีโอมาแจกจ่ายภายในทำเนียบรัฐบาล
โดยหนังสือลาออกของน.ส.จิตภัสร์ ระบุว่า

ไม่ได้มีเจตนาที่จะนำปฏิทินไปแจกจ่าย แต่เป็นเพราะ มีพี่ ๆ หลายคนสนใจปฏิทินนี้ ประกอบกับเห็นว่าเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ จึงได้นำติดรถมา ระหว่างนั้น พี่ ๆ สื่อมวลชนหลายคนเห็นและเข้ามาขอปฏิทินด้วย ดิฉันก็ให้กับทุกคน โดยยอมรับว่าไม่ทันได้คิดว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งถือเป็นความไม่รอบคอบของดิฉันเอง จนทำให้ส่งผลกระทบตามามากมา? ดิฉันรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้ น เพราะนอกจากจะทำให้ตัวเองกับครอบครัวได้รับผลกระทบแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ใหญ่หลายคนที่ดิฉันนับถือพลอยเสื่อมเสียไปด้วย ดังนั้นแม้การกระทำครั้งนี้จะเป็นความพลาดพลั้งเนื่องจากรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาเป็นข้ออ้างปฏิเสธความรับผิชดอบจากการกระทำของตัวเอง ดิฉันขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว และขอน้อมรับคำวิจารณ์ทั้งหมด เพื่อนำไปปรับปรุงตัวเอง พร้อมกันนี้ ดิฉันกราบขอโทษไปยังประชาชนทั้งประเทศที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่เหมาะสมขึ้น ในทำเนียบรัฐบาล ดิฉันจึงขอแสดงรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการลาออกจากตำแหน่ง ข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนากยฯ โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค. 52 บทเรียนครั้งนี้เป็นสิ่งมีค่ามากและจะเป็นเครื่องเตือนสติว่า ทุก ๆ การกระทำต้องมีความระมัดระวังและรอบคอบและหวังว่าสังคมการเมืองจะยังเปิด โอกาสให้ดิฉันได้พิสูจน์ตัวเองในภายภาคหน้า

เชื่อมิเชื่อแล้วแต่จะโปรด..ครับพี่น้อง

เนื้อข่าวเก่าจาก 
http://news.mthai.com/headline-news/64069.html
เมื่อ วันพฤหัสที่ 17 ธันวาคม 2552