ที่มา:มติชนรายวัน 1 มิ.ย.2556
เหมือนกับความคาดหมายของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ว่าอาจจะมีการยุบสภาประมาณปลายปีจะเป็นเหมือนสัญญาณ
เหมือนกับการชุมนุมยืดเยื้อ ณ ท้องสนามหลวง จะเป็น "อาการ"
เป็นอาการทำนองเดียวกันกับคำประกาศจาก นายแก้วสรร อติโพธิ ในเรื่องอันเกี่ยวกับวิถีดำเนินแห่ง "ไทยสปริง"
จากนั้น ก็นำไปสู่ปรากฏการณ์ "หน้ากากขาว"
จากนั้น ก็นำไปสู่ปรากฏการณ์การขว้างระเบิดพร้อมกับลูกเปตองเข้าไปบริเวณหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์
พร้อมกับข่าวปล่อย "หึ่ง! ปลด ผบ.ทบ."
จากนั้น ก็เพียรอย่างเต็มกำลังในการขยายผลการวางระเบิดร้านค้าในซอยรามคำแหงให้โยงไปยังการก่อการร้ายจากภาคใต้
ประสานการปล่อยข่าวผ่าน "โซเชียลมีเดีย"
จึง
ไม่แปลกที่ทั้ง นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี จะมาพูดด้วยน้ำเสียงเดียวกัน
ขบวนการ "ล้ม" รัฐบาล
ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวในลักษณะ 2 ประสานที่มีเป้าหมายอย่างเดียวกันเหมือนกับมิได้นัดหมาย
1 คือ ถนนทุกสายมุ่งไปยัง "องค์กรอิสระ"
แม้จะมุ่งไปยังจุดเดียวกันแต่ก็มีรากฐานมาจาก 1 พรรคประชาธิปัตย์ 1 กลุ่ม 40 ส.ว. และ 1 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
1 คือ การกระพือในเรื่องข่าวลือ ข่าวปล่อย
อย่าลืมเป็นอันขาดว่าพันธมิตรในแนวร่วมก่อนเกิดรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ที่แข็งแกร่งเป็นอย่างมากเป็นพันธมิตรภายในแวดวง "สื่อ"
สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเคยออกแถลงการณ์หนุนมาตรา 7 มาแล้ว
หลัง
รัฐประหาร
คนในวงการสื่อไม่เพียงแต่ตบเท้าเข้าเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) หากแต่บางส่วนก็เข้าเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
ข่าวปล่อยผ่าน "สื่อ" หนังสือพิมพ์และออนไลน์จึงคึกคัก
กระนั้น
ที่เห็นก็เสมอเป็นเพียง "อาการ" หรือเรียกตามศัพท์แสงว่าเป็นเพียง
"ปรากฏการณ์" บนพื้นผิว เพราะเป้าหมายอันเป็น "แก่นแท้" หรือ "ธาตุแท้"
อย่างที่มุ่งหวังตั้งไว้ก็คือความพยายามแยกกองทัพออกจากรัฐบาล
จึงต้องพาดหัว หึ่ง! ปลด ผบ.ทบ.
ที่เรียกว่าทุกอย่างล้วนเป็น "อาการ" หรือ "ปรากฏการณ์" เช่นเดียวกับข้ออ้างในเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น บริหารเพื่อตระกูลบางตระกูล
ยังมิใช่ "สาเหตุ" อย่างแท้จริง
สาเหตุ
อย่างแท้จริงอยู่ที่ 1 ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 อยู่ที่ 1
ร่าง
พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
ของประเทศ อยู่ที่ 1 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม
และอยู่ที่ 1 โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและอุทกภัยจำนวน 3.5 แสนล้านบาท
ทั้งหมดนี้หากสามารถผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาก็จะทำให้สถานะของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยดำเนินไปเช่นเดียวกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
นั่นก็คือ ได้รับเลือก 377 จาก 500 ส.ส.ในปี 2548
นั่นก็คือ ปิดประตูชนะให้กับพรรคประชาธิปัตย์เป็นปีที่ 23 ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2558 อย่างไม่ต้องสงสัย
จึงต้องโค่น จึงต้องล้ม
หาก
ไม่สามารถล้มได้โดยกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ผ่านองค์กรอิสระ
ก็จะต้องปูทางสร้างเงื่อนไขเหมือนกับที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคย
กระทำมา
ไม่น่าจะให้พ้นปีนี้ไปได้
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น "โจทย์" มหึมาทางการเมืองที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จักต้องเผชิญ
ไม่
ว่าจะประเมินผ่านดวงดาวที่เน้นวิกฤตหลังเดือนตุลาคม
ไม่ว่าจะประเมินผ่านคำทำนายด้วยความเชื่อมั่นยิ่งจากนอมินีเผด็จการ
ไม่ว่าจะประเมินผ่านการเคลื่อนไหวหลายรูปแบบที่ดำรงอยู่
ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง และเป็นจริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น