Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โอ่!!!! "การยืนเคารพเพลงสรรเสริญในโรงหนัง" คือการเลียนแบบธรรมเนียมอังกฤษที่อังกฤษเองก็ยกเลิกไปนานแล้ว

ศ. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ที่มา เฟซบุ๊คCharnvit Ks
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก thai e-news
 
 
 
From God Save the Queen, from England to Siam and Thailand.
ตอบคำถาม "เพลงสรรเสริญฯ" ในโรงหนัง สยามประเทศไทยนั้น มีมาแต่หนใด

ตอบคำถาม เรื่องธรรมเนียมการยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี
ในโรงหนัง ในเมล์ลิสต์ ของนักวิชาการและนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่ง ดังนี้

ต่อคำถามที่ว่า ธรรมเนียมการยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี
ในโรงหนัง มีมาแต่เมื่อไร
และมีขึ้นเพราะเหตุใดนั้น
ขอตอบว่าธรรมเนียมนี้
สยามประเทศ (ไทย) ลอกเลียนมาจากอังกฤษ
เมื่อประมาณ 1 ร้อยปีมาแล้ว

กล่าวคือ เมื่อประมาณต้นศตวรรษ ที่ 20
เมื่อเริ่มต้น มีโรงหนังในยุโรปนั้น
เมื่อฉายหนังจบ อังกฤษ
ก็ให้มีการฉายพระฉายาลักษณ์ ของคิงยอร์ช
แล้วก็ให้บรรเลงเพลง God Save the King
ธรรมเนียมนี้ เกิดขึ้นในยุคสมัยที่อังกฤษ
ต้องการปลุกระดมลัทธิชาตินิยม
และความจงรักภักดีต่อกษัตริย์
ตามคำขวัญว่า God, King, and Country

สมัยนั้น อังกฤษต้องต่อสู้กับเยอรมนี
และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
กษัตริย์อังกฤษ ต้องทำตนให้เหมือน เป็นอังกฤษแท้ๆ
ต้องเปลี่ยนนามราชวงศ์ ที่ฟังดูเป็นเยอรมันคือ
'Saxe-Coburg-Gotha'
ให้ฟังดูเป็นอังกฤษแท้ๆ คือ 'Windsor'

ธรรมเนียมนี้ ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด ในเมืองแม่
และถูกนำไปใช้บังคับในอาณานิคมทั่วโลกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นในอินเดีย สิงคโปร์ มลายา และพม่า

ธรรมเนียมดังกล่าว ตกทอดมาจนถึงตอนต้นๆ ของรัชสมัยควีนอลิซาเบธ
แต่ปัจจุบันนี้ อังกฤษได้ยกเลิกไปแล้ว
เพราะเมื่อประมาณปลายทศวรรษ ก่อนและหลังสงครามโลก ครั้งที่สอง ราวๆ
1930s-1940s จนถึง1950s กับต้นทศวรรษ 1960s
ประชาชน เริ่มเบื่อหน่ายกับการต้องยืน หลังความบันเทิง
และบรรดานักศึกษาชั้นนำ ของทั้ง Oxford and Cambridge
เริ่มประท้วงไม่ยอมยืนเคารพ
แถมยังเดินออกจากโรงหนัง เมื่อหนังจบอีกด้วย

ร้อนถึงเจ้าหน้าที่รัฐ และเจ้าของโรงหนัง
ต้องแก้ไขด้วยย้ายการบรรเลงเพลงสรรเสริญ/การฉายภาพ
มาไว้ก่อนหนังฉาย พร้อมๆ กับ การโฆษณาสินค้าอื่นๆ
แต่ก็ไม่ได้ผล
ตกลงเลยต้องยกเลิกธรรมเนียมนี้ไป เมื่อประมาณครึ่งศตวรรษ มานี้เอง

สำหรับสยามประเทศ (ไทย) ของเรา
ก็ได้ลอกเลียนธรรมเนียมนี้มาจากอังกฤษ (เหมือนๆ กับลอกเลียน อีกหลายๆ อย่าง)
โดยบรรดา "พวกหัวนอก/นักเรียนอังกฤษ" กับ "เจ้าของโรงหนัง"
ก็บรรเลงเพลง/ฉายภาพ เมื่อหนังเลิก
ส่วนก่อนหนังฉาย ก็มักจะมีโฆษณาสินค้า
ดังนั้น จึงแยก “เพลงสรรเสริญฯ” ออกจากโฆษณาสินค้า
เป็นก่อน กับหลังหนังฉาย

แต่เมื่อสักประมาณทศวรรษ 1970s
ไม่ทราบด้วยเหตุผลกลใด (ยังสืบค้นไม่พบ)
ได้ดัดแปลงธรรมเนียมนี้ใหม่
คือ ย้ายการเปิดเพลง สรรเสริญ "ข้าวรพุทธฯ" และภาพ
มาไว้ตอนก่อนหนังฉาย และให้ต่อจากการโฆษณาสินค้าอื่นๆ
มากระทั่งทุกวันนี้


อนึ่ง เข้าใจว่าในปัจจุบัน ธรรมเนียมเปิดเพลงดังกล่าว
ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว
ทั้งในบรรดาประเทศในยุโรป
ในประเทศอดีตอาณานิคมส่วนใหญ่ ตลอดจนในญี่ปุ่น ก็ไม่มี
(ไม่แน่ใจว่า ในมาเลเซีย หรือ ในบรูไน
จะยังคงมีอยู่หรือไม่ น่าลองสอบถามดู ครับ)


โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
cK@ปวศ/นอกตำรา
(เขียนเมื่อ 23 เมษา 2551
แก้ไข ดัดแปลง 4 มิถุนายน 2556)
ที่มา Charnvit Ks
นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ อดีตอธิการบดี ธรรมศาสตร์

. . . . . . . . .

รวมทั้งมีข้อมูลเพิ่มเติมว่า . . .
เพลงสรรเสริญพระบารมี มีมาแต่หนไหน
แต่เดิม ไทยสยาม ไม่มีเพลงเช่นว่านี้
แต่เมื่อต้องคบหากับฝรั่งเจ้าลัทธิอาณานิคม ก็รับธรรมเนียมฝรั่งนี้มา
และในสมัยรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5
ก็เคยยืม God Save the Queen (วิกตอเรีย) มาใช้

ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2431 (1888) กลางสมัยรัชกาลที่ 5
ทรงเห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะทำให้ดูเหมือนสยามเป็น “เมืองขึ้น” แบบ มลายู/สิงคโปร์
จึงทรงจ้างฝรั่งรัสเซีย นาม ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky)
ประพันธ์ทำนอง แล้วโปรดให้ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นิพนธ์ เนื้อร้องขึ้น
(เนื้อร้องเดิม ลงท้ายด้วยคำว่า "ฉนี้" ก่อนถูกเปลี่ยนเป็น "ชโย" ในสมัยรัชกาลที่ ๖
ที่มีการเปลี่ยน “ธงชาติ” อีกด้วย จากธงช้างเผือก
เป็นธงไตรรงค์ น้ำเงิน ขาว แดง
สามสี แบบเดียวกับ นานาอารยประเทศ ในยุโรปและอเมริกา
พร้อมๆ กับมีการประดิษฐ์คำขวัญ ประจำชาติ ว่า
“ชาคิ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ตามแบบของ God, King, and Country)
cK@ปวศ/นอกตำรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น