Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

รัฐบาลไทยพูดถึงการปฏิรูป แต่ฝ่ายค้านตีรวนทำเป็นไม่เข้าใจ

จาก ไทยอีนิวส์
โดย เจมส์ ฮุกเวย์ เดอะวอลสตรีทเจอร์นอล 2 สิงหาคม 2556



กรุงเทพฯ – รัฐบาลไทยพยายามมาหลายเดือนที่จะผลักดันการเจรจาระดับสูงเพื่อหาทางออกต่อความขัดแย้งบาดลึก โดยมีบุคคลชั้นนำ อาทิ อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ โทนี่ แบลร์ และอดีตผู้นำฟินแลนด์ มาร์ตติ อาห์ทิซารี ไปร่วมกันในกรุงเทพฯ เมื่อวันจันทร์ ในการสัมมนาว่าทำอย่างไรประเทศจะเดินหน้าต่อไปได้

แต่ปัญหามันมีอยู่ว่า

ถึงจุดนี้พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในการสนทนาเพื่อปรองดอง เลยเถิดไปจนกระทั่งกล่าวหารัฐบาลของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าจ่ายค่าจ้างแก่นายแบลร์ถึง ๒๐ ล้านบาท หรือ ๖๔๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อการปรากฏตัวในวงสนทนาเมื่อวันจันทร์ ซึ่งทั้งรัฐบาล และนายแบลร์ได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง

“ขอให้เป็นหลักฐานไว้ตรงนี้ ข้าพเจ้ามาที่นี่เพราะพวกท่านเชิญมา” นายแบลร์กล่าวในตอนหนึ่งแล้วเสริมด้วยคำพูดติดตลกเรื่องเน็คไทสีฟ้าที่เขาผูกในวันนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการเข้าใจไปว่าฝักใฝ่หนึ่งใดในสองกลุ่มผู้ชุมนุมบนถนนฝ่ายเสื้อแดง และเหลือง

นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาของพรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธไม่รับคำเชิญเข้าร่วมในวงสนทนานี้ โดยแนะเสียอีกว่ารัฐบาลควรที่จะไปปฏิรูปตัวเองเสียก่อนที่จะชวนกลุ่มอื่นๆ มานั่งโต๊ะเจรจา ขณะเดียวกันพวกผู้นำปัจจุบันของพรรคประชาธิปัตย์แสดงการขัดขวางอย่างหนักหน่วงยิ่งขึ้นต่อการดำเนินงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญซึ่งกองทัพหนุนหลัง และการร่างกฏหมายนิรโทษกรรมที่อาจเป็นไปได้ว่าจะทำให้ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของเธอได้กลับประเทศไทยจากการลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศหลังถูกรัฐประหารออกจากอำนาจในปี ๒๕๔๙ เขาถูกตัดสินความผิดฐานคอรัปชั่น อันเป็นข้อหาที่เขาปฏิเสธ และเลือกที่จะหลบจากการจำคุกไปอยู่ดูไบ

พวกหัวหน้าฝ่ายค้านดังเช่นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังง่วนอยู่กับการนำกลุ่มต่างๆ ประท้วงบนท้องถนนหลายแห่ง เช่นเดียวกับในสภาผู้แทนราษฎร และที่เป็นอยู่หลากหลายบนความแตกแยกทางการเมืองของประเทศไทยที่กำลังเลวร้ายลงไปอีก เมื่อกระแสเศรษฐกิจเริ่มแผ่วแรงลงในการเข้าสู่ภาวะตกต่ำโดยเท็คนิคช่วงไตรมาสที่สองของปี น.ส.ยิ่งลักษณ์กำลังพบกับการวิพากษ์จากฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมากขึ้นทั้งในเรื่องนโยบายประชานิยม อันรวมถึงการลดหย่อนภาษีแก่ผู้ซื้อรถคันแรก หรือบ้านหลังแรก กับโครงการรับจำนำข้าวมูลค่าเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์ ที่บั่นทอนการส่งออกผลิตผลเกษตรกรรมของประเทศ

ข้อถกเถียงเหล่านั้นสาวลงไปได้ถึงรากเหง้าของความเดือดร้อนในประเทศ ซึ่งมักเป็นวังวนรายรอบอยู่กับปัญหาว่าทำอย่างไรดีในการแก้ไขความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเด็นความยากจนในชนบท แล้วยังเกี่ยวโยงอยู่กับความรู้สึกไม่ไว้ใจไปเสียตลอดของพวกชนชั้นนักธุรกิจร่ำรวยของกรุงเทพฯ และพวกอนุรักษ์นิยมในสายงานราชการ ต่อวาระนโยบายของทักษิณกับน้องสาว

แม้จะมีความตึงเครียด ทั้งนายแบลร์ และผู้ร่วมวงสนทนาอื่นๆ เมื่อวันจันทร์ต่างกล่าวว่า การปรองดองอาจนำมาซึ่งผลดีโดยไม่คาดหมายก็ได้ และความหวังที่จะบรรลุผลดีเหล่านี้ โดยเฉพาะผลดีทางเศรษฐกิจสามารถช่วยเร่งกระบวนการปฏิรูปนั้นเองได้ด้วย

โดยอ้างถึงความพยายามของเขาเองในการสร้างข้อตกลง กู๊ดฟรายเดย์ อันนำไปสู่การปันอำนาจในไอร์แลนด์เหนือเมื่อทศวรรษ ๑๙๙๐ นายแบลร์พบว่าความหวังในผลดีที่จะเกิดจากการร่วมแรงแข็งขันทางการค้า และเศรษฐกิจระหว่างส่วนเหนือ และใต้ของเกาะไอร์แลนด์ ช่วยให้ชุมชนฝ่ายชาตินิยมกับฝ่ายสหพันธ์ที่เคยไม่ไว้ใจต่อกันหันหน้าเข้าหากันได้

“การปรองดองเกิดขึ้นเมื่อความรู้สึกร่วมกันในโอกาศที่จะได้รับมีมากกว่าการที่ต่างฝ่ายต่างรู้สึกไม่พอใจซึ่งกันและกัน” นายแบลร์กล่าว

ความยุ่งยากอยู่ที่การเอาชนะต่อปัญหาที่มีมาในอดีต นายแบลร์ชี้ให้เห็นว่าการปลดปล่อยนักโทษไออาร์เอ (สมาชิกกองทัพไอริชต่อต้านกษัตริย์อังกฤษ) เกือบทำให้กระบวนการสันติภาพในไอร์แลนด์เหนือพังครืนลง

ทางด้านนายอาห์ทิซารีของฟินแลนด์ก็เอ่ยถึงประสบการณ์ของเขาในการช่วยแก้ไขความขัดแย้งในโคโซโว กับที่จังหวัดอาเซ๊ะห์ในอินโดนีเซียเช่นกัน

หากแต่ว่าดังที่นายแบลร์แนะไว้  ปัญหาของประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยคนภายนอก คนไทยเท่านั้นจึงจะตัดสินกันเองว่า มีไหมรางวัลอันสูงค่ายิ่ง สำหรับการยอมเสียหลุมหลีกภัยทางการเมืองของฝ่ายตน


หมายเหตุ

อนึ่ง ต่อจากการปาฐกถาของนายโทนี่ แบลร์ และนายมาร์ตติ อาห์ทิซารี ในรายการเดียวกัน เป็นการปาฐกถาโดยนางพริสซิลล่า เฮย์เนอร์ ที่ปรึกษาอาวุโสของศูนย์เจรจาสิทธิมนุษยชน ซึ่งก่อให้เกิดปฏิกิริยาจาก นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.พรรคเพื่อไทย และหนึ่งในแกนนำ นปช. ปรากฏบนเว็บ
นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ดังนี้ 

นพ.เหวง ตั้งคำถามถึงปาฐกถาของ พริสซีล่าเฮย์
จากเฟสบุ๊ค "นพ.เหวง โตจิราการ" วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556


ปาฐกถาของผู้นำประเทศสองคน โทนี่แบล์ อาร์ติเซลี และพริสซีล่าเฮย์ ที่ทำงานองค์กรสากลในเรื่องการแก้ความขัดแย้ง

สองท่านแรก ผมไม่ทันได้ฟัง ผมได้ทันฟังคนที่สาม พริสซีล่าเฮย์ผมมีความเห็นบางข้อดังนี้

1. พริสซีล่าเฮย์ กล่าวถึงการนิรโทษในทำนองว่า อาชญากรรมในเรื่องการเผานั้นทางสากลยอมรับไม่ได้ หรือ เรื่องเผานั้น ทางสากลถือว่านิรโทษไม่ได้


อันนี้ พริสซีล่าเฮย์ต้องตอบนะครับว่านี่เป็นทัศนะส่วนตัวของคุณเท่านั้น ใช่หรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นกลายเป็นคุณกล่าวเท็จในการแสดงความเห็นในวันนี้ เพราะในรวันดาไม่ว่าทุซซี่หรือฮูตูล้วนแต่มีการกระทำในการ เผาทั้งสิ้น แล้วทำไมในรวันดา นิรโทษทุกฝ่ายที่ดำเนินอาชญกรรมเผาทั้งหมดเล่าครับ นี่อันตรายมาก เพราะเนียนมากในการพูด

ทำให้ผู้ฟังอาจจะหลงเคลิ้มไปกับพริสซีล่าด้วย เพราะเฮย์แยกเรื่อง ฆ่าและเผาออกจากกัน เฮย์ว่า เผานิรโทษไม่ได้ แต่ ฆ่านิรโทษได้ นี่เฮย์กำลัง ช่วยคนฆ่าใช่หรือเปล่า

ผมขอถามเฮย์ และคนที่เห็นด้วยกับเฮย์ว่า

เฮย์ไม่ได้แยกระหว่าง ประชาชนผู้รับชะตากรรม กับพวกผู้นำทรราชย์ที่ฆ่าฟันประชาชนถ้าเฮย์วางน้ำหนักเฉพาะการกระทำเท่ากับยอมให้ พวกสั่งฆ่าประชาชนได้รับนิรโทษ ใช่หรือไม่ครับ เนียนมากครับ

ผมเคยพบเฮย์หลายปีก่อนภายหลังออกจากคุก เฮย์ถามว่าถ้านิรโทษหมดผมยอมรับไหม ผมบอกผมไม่ยอมครับ เพราะถ้านิรโทษหมด ฆาตกรที่สั่งฆ่าประชาชนจะหลุดหมดครับแล้วก็จะมีกลุ่มทรราชย์ใหม่ใช้ทหารมาฆ่าประชาชนด้วยอาวุธสงครามกลางถนนอีก ชีวิตผมเห็นต่อหน้าต่อตามาเจ็ดหนแล้ว ต้องไม่มีหนที่แปดอีก เฮย์อึ้งไปเลยครับ

2. พิธีกรจงใจในการเชิญตัวแทนประชาธิปัตย์ขึ้นแสดงความเห็น นี่เป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเวทีนี้เป็นเวทีรับฟังผู้นำระดับโลกในเรื่องการแก้ความขัดแย้งที่ตัวท่านได้มีส่วนร่วมแก้แล้วได้ผล
ซึ่งในมุมนี้ก็ไม่ควรเชิญ พริสซีล่าเฮย์เข้าร่วมด้วยเลย เพราะเฮย์ไม่ใช่ผู้นำประเทศที่เคยมีประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงให้ยุติลงได้ แต่เชิญเข้าร่วมด้วยเพราะอะไรไม่ทราบ (เราไม่ปฎิเสธการฟังความเห็นของคนครับ แต่ไม่ใช่ในเวทีนี้ ควรจะเป็นเวทีอื่น)

เพราะผู้จัดรู้ทัศนะของพริสซีล่าเฮย์แล้วอย่างงั้นหรือเปล่าว่า จะมาพูดให้เป็นประโยชน์กับคณะของ อ.คณิต ณ.นคร ใช่หรือไม่ แม้ว่าเฮย์ไม่ได้เกี่ยวกับผลงานของสมชาย (หอมลออ) แต่ คอป.ได้รายงานข้อสรุปของเหตุการณ์ 12 มีนา - 19 พ.ค. 53 ที่เกิดขึ้น เรื่องที่สำคัญที่สุดในข้อสรุปเท็จโดยสิ้นเชิง


ดังที่สมชาย หอมลออได้กล่าวเท็จไว้ตรงข้ามกับข้อวินิจฉัยของศาล เรื่องมีชายชุดดำวิ่งที่หน้าวัดปทุมวนารามแล้วยิงต่อสู้กับทหาร มีกองกำลังติดอาวุธยิงสู้กับทหารที่แยกเฉลิมเผ่า แล้ววิ่งเข้าไปในวัดปทุมฯ ยิงต่อสู้กับทหารต่อ มีรอยกระเทาะหรือบิ่นของแนวกำแพงเตี้ยกั้นบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นรอยกระสุนที่ยิงต่อสู้ทหารจากในวัดปทุมฯ ซึ่งเท็จโดยสิ้นเชิง

เฮย์ได้ศึกษาแล้วหรือไม่ ทำไมไม่มีท่าทีในเรื่องข้อสรุปที่เป็นใจกลางสำคัญแต่เป็นเท็จ ซึ่งทำให้รายงานของคอป.เป็นรายงานที่เป็นเท็จ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการใส่ร้าย การชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อ2553” เลยสักนิด

3. หลังจากที่พิธีกรเชิญตัวแทน ปชป.ขึ้นพูด ปรากฏว่านายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ลุกขึ้นยืนแล้วพูดในที่ประชุมว่าเขาไม่ได้เป็นตัวแทน ปชป.

เขากล่าวถูกต้องครับ ในวันนี้เขาทำงานองค์กรระหว่างประเทศองค์กรหนึ่ง ไม่ใช่เป็นตัวแทนของปชป. อย่าลืมว่ารัฐบาล ปชป.เป็นคนส่งสุรินทร์ พิศสุวรรณไปแข่งขันในตำแหน่งดังกล่าว

อาจจะมีคนโต้แย้งว่าประเทศต่างๆ เป็นคนเลือก แต่อย่าลืมว่าเรื่องระหว่างประเทศเป็นเรื่องของมารยา และคิวหรือลำดับที่ควรได้ รวมทั้งพวกฝ่ายด้วยนะครับ (ในอดีตที่เห็นชัดคือเป็นพวกของอเมริกาหรือโซเวียต) ในคราวนั้นเป็นโอกาสของประเทศไทยครับ สุรินทร์ก็เลยได้

แต่ระบบคิดของสุรินทร์ พิศสุวรรณ ไม่ได้ต่างไปจากระบบคิดของปชป.แม้แต่นิดเดียว สุรินทร์พูดก็คือปชป.พูดนั่นเอง

สุรินทร์พูดสองเรื่องในที่ประชุม คือเขาบอกทำไมต้องรีบร้อนในเรื่องนิรโทษด้วย พูดเหมือนอภิสิทธิ์และ ปชป.ทุกคน และเขาบอกว่าต้องถอนเรื่อง นิรโทษออกมาเสียก่อน นี่ก็ ปชป.พูดอีกเช่นกัน

นอกจากนี้ยังกล่าวหาว่าเรื่องในเมืองไทยไม่ใช่มีแค่สองฝ่าย แต่ยังมีอีกฝ่าย คือ ฝ่ายจากต่างประเทศซึ่งก็คือ ท่านนายกทักษิณชินวัตรนั่นเอง

แม้ไม่ได้ระบุชื่อ แต่คนไทยทุกคนที่สนใจการเมืองก็รู้อยู่แก่ใจดีว่าหมายถึงทักษิณ ชินวัตร

เขาใช้โอกาสนี้ที่มีการถ่ายทอดสดทางช่อง11ไปทั่วไทยและทั่วโลก โจมตี อดีตนายกทักษิณโดยไม่ออกชื่อและโจมตีสภาไทยในเรื่องการพิจารณา นิรโทษกรรมอย่างรีบร้อน เสนอให้ถอนออกมา และโฆษณานโยบายปัจจุบันของพวกประชาธิปัตย์

ผมไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศ คณะรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และหลายคนที่รักความยุติธรรมในประเทศนี้ และในโลกนี้ที่นั่งอยู่ในที่ประชุมนิ่งเฉยกันได้อย่างไรครับ

ทำไมพิธีกรจึงไม่เชิญอีกฝ่ายได้มีโอกาสแสดงทัศนะของตนถ่วงดุลย์กับสุรินทร์ พิศสุวรรณบ้างครับ ใครจะรับผิดชอบเรื่องที่เกิดขึ้นครับ

อย่างไรก็ดี ต่อถ้อยปาฐกถาของนางเฮย์เนอร์ ขณะนำเสนอบทความนี้ยังไม่ปรากฏคลิป หรือรายละเอียดคำแปลที่จะนำมาเทียบเคียงได้ พบแต่บทความของเธอที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม เรื่อง 'The Challenge of Reconciliation' อันมีเนื้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงประเด็นเร่งรัดการปรองดอง ดังนี้


"ข้อสอง การปรองดองไม่อาจเร่งรัดได้ ในขณะที่ก็ไม่ควรชักช้าที่จะเริ่มต้น กระบวนการด้วยตัวของมันเองควรต้องได้รับการปฏิบัติต่ออย่างให้เกียรติ และใส่ใจ มันต้องอยู่บนพื้นฐานของการสื่อสาร รับฟัง ใช้กระบวนการจัดทำอย่างระมัดระวังเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกันแห่งชาติ ผูกพันผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามด้วย

ข้อเขียนอีกตอนหนึ่งกล่าวว่า

"ตัวอย่างที่ดีของวิธีการปรองดองจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเป็นแบบที่พุ่งจุดสนใจไปที่กระบวนการ ไม่ใช่ที่เป้าหมาย และบางที แม้จะเป็นที่น่าเสียใจว่าการปรองดองไม่ใช่สิ่งที่ไปถึงได้ด้วยตัวของมันเอง หากแต่เป็นเพียงหนทางสำหรับการเริ่มต้น แล้วลงมือทำงานหนักกันไปตามทิศทางนั้น...นี่เป็นบางสิ่งที่ขึ้นอยู่อย่างมากกับองค์ประกอบ และวัฒนธรรมในชาติ ไม่เหมาะแก่การนำเข้าแบบอย่างจากที่อื่นโดยตรง"


ต่อประเด็นการนิรโทษกรรม บทความของนางเฮย์เนอร์ให้ความเห็นว่า


"...อย่างไรก็ตาม ดิฉันใคร่แนะนำว่า ข้อเสนอนิรโทษกรรมใดๆ ควรจะเดินตามหลักการพื้นฐานจำเพาะดังนี้คือ ควรเคารพในผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ควรดูเหมือนว่าทำเพื่อประโยชน์บางอย่างทางการเมือง และมันควรเน้นความใส่ใจในกระบวนการที่ไม่ลำเอียง ทั้งในกระบวนการสร้างกรอบของนิรโทษกรรม และกระบวนการกำหนดว่าจะปรับใช้การนิรโทษกรรมนี้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น 

ขณะที่การนิรโทษกรรมอาจยกโทษให้กับความรับผิดชอบต่ออาชญากรรมบางประเภท แต่ก็ไม่ควรที่จะเพิกถอนสิทธิของผู้เสียหายในการรับรู้ความจริง..."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น