Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แพ้เป็นพระ ชนะเป็น SHE!


คอลัมน์ : เรื่องจากปก โลกวันนี้วันสุข 7-13 ธันวาคม 2556
ผู้เขียน : ทีมข่าวรายวัน




หากจะยึดก็ให้เข้ามายึด หากจะเผาก็ให้เข้ามาเผา หากโกรธก็ขอให้ด่าผมคนเดียว ยอมที่จะถูกตำหนิแต่ไม่อยากให้เพื่อนตำรวจได้รับความเสียหาย”
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนคร บาล (ผบช.น.) กล่าวกับผู้สื่อข่าวเช้าวันที่ 3 ธันวาคม ก่อนม็อบจะเดินหน้ามาที่ บช.น. ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ใช้แก๊สน้ำ ตากับผู้ชุมนุมอีกต่อไป โดยจะปล่อยให้ประชาชนเข้ามาที่ บช.น. และทำเนียบรัฐ บาลได้โดยไม่มีการขัดขวาง เพราะ บช.น. เป็นของประ ชาชน มาจากเงินภาษีของประชาชน ตำรวจเปิดทางและปรบมือให้ผู้ชุมนุมที่เดินเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาลด้วย ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองและสถานการณ์ ความรุนแรงตลอด 2 วันก่อนหน้านี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้ายึดทำ เนียบรัฐบาลและ บช.น. จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ยังย้ำว่า ไม่อยากเห็นคนไทยทะเลาะกันเอง อยากให้มีการเจรจา แต่ยืนยันว่า 2 วันที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ตำรวจทำดีที่สุดแล้วและต้อง การที่จะยุติทุกอย่าง โดยขอยอมรับผิดคนเดียว ส่วนหลังจากนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข (กปปส.) จะออกมาเคลื่อนไหวหรือแสดงพฤติกรรมอย่างไรก็ให้ประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบเอง
หมากกลเกมที่ซับซ้อน
ขณะที่เช้าวันเดียวกัน ภายหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำข้าราชการทั่วประเทศกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2556 ที่สโมสรทหารบก นายกรัฐมนตรีเดินเข้าไปทักทายข้าราชการต่างๆ และพูดคุยเป็นพิเศษกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส หลังเจ้าหน้าที่ปล่อยให้มวลชนเข้าไปในพื้นที่ทำเนีบบรัฐบาลและ บช.น. ได้โดยไม่มีการขัดขวางใดๆ ทำให้สถานการณ์ที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะเกิดการนองเลือดครั้งใหญ่ที่นายสุเทพประกาศระดมมวลชนเพื่อยึด บช.น. และทำเนียบรัฐบาลให้ได้นั้น กลับเต็มไปด้วยภาพความสุขระหว่างม็อบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
แม้แต่สื่อต่างประเทศก็งงกับการพลิกเกมของรัฐบาล อย่างที่สำนักข่าวเอพีระบุว่า เป็นเหมือนการเล่นหมากรุกที่ซับซ้อน ซึ่งนายกฯยิ่งลักษณ์ได้พยายามแสดงจุดยืนว่าพร้อมจะประนีประนอมและเปิดกว้างที่จะเจรจา ตรงข้ามกับท่าทีของนายสุเทพที่ยิ่งต่อสู้ยิ่งถูกตั้งคำถามมากมายทั้งการต่อสู้แบบสันติ อหิงสา และการเปลี่ยนแปลงประเทศ
ใครรับผิดชอบคนตาย-คนเจ็บ
โดยเฉพาะคำปราศรัยที่ดุเดือดของนายสุเทพเมื่อคืนวันที่ 2 ธันวาคมว่าจะระดมมวลชนทั้งหมดไปยึด บช.น. ให้ได้ก่อนเวลา 15.00 น. วันที่ 3 ธันวาคม และ เป็นวันที่จะปฏิรูปโครงสร้างตำรวจทั้งประเทศที่ว่า
พี่น้องทั้งหลาย ไปให้มันยิงอีก ตัดสินใจแล้วครับพี่น้องครับ มันจะยิงแก๊สน้ำตากี่ลูกก็ตาม ต้องยึดกองบัญชาการตำรวจนครบาลให้ได้ รวมกำลังมวลมหาประชาชนทุกสายพรุ่งนี้มุ่งไปยึดกองบัญชาการตำรวจนครบาลมาเป็นของประชาชน ให้ตำรวจเห็นว่าประชาชนมือเปล่าอย่างเรา ไม่มีอาวุธ สามารถต่อสู้สมุนทรราชที่ทำกับเราด้วยความรุนแรงและเอาชนะได้ พิสูจน์กันที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลพรุ่งนี้”
เมื่อสถานการณ์ไม่เป็นไปตามคำปราศรัยของนายสุเทพ ก็มีคำถามว่าแล้วประชาชนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บนั้นนายสุเทพจะรับผิดชอบอย่างไร ซึ่งวันนี้นายสุเทพเองก็กลายเป็นผู้ต้องหา “กบฏ” และยังมีคดี “ฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล” ร่วมกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่มีคนตายนับร้อยและบาดเจ็บพิการกว่า 2,000 คน
ซึ่งนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ โพสต์ ในเฟซบุ๊คเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมว่า เสียดายมากที่วันนี้คุณสุเทพไม่มีการสื่อสารใดๆที่เป็นการหาทางออกให้ประเทศเลยนอกจากการยึด ยึด และยึด ประชาชนจะต้องเจออะไร บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ต้องเอาให้ได้ ต้องเอาให้จบ ข้อเสนอสภาประชาชนถ้าทำได้และดีจริงจะได้ช่วยกันทำให้เป็นจริง แต่มาถึงวินาทีนี้คุณสุเทพก็ไม่ยอมอธิบายเลยว่าสภาประชาชนนั้นคืออะไร และเป็นอย่างไร
ผมคิดว่าคุณสุเทพควรให้ความเป็นธรรมกับผู้ชุมนุมนะครับว่าสุดท้ายที่จะยึด ยึด ยึด ถ้าสมมุติยึดได้ไปแล้ว สุดท้ายปลายทางสภาประชาชนที่ว่าคือใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร? มิเช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการหลอก ล่อและลวงประชาชนให้ไปบาดเจ็บแทนตัวเองไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าประเทศจะไปทางไหน”
โดยเฉพาะการตาย 4 ศพที่มหาวิทยาลัยรามคำ แหงที่เป็นนักศึกษา 1 คน และเสื้อแดง 3 คนนั้น นายสุเทพหรือใครต้องรับผิดชอบ ที่ผ่านมานายสุเทพและนายอภิสิทธิ์ก็กล่าวหาแกนนำคนเสื้อแดงและ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มาตลอดว่าต้องรับผิดชอบที่ทำให้คนเสื้อแดงเสียชีวิตและบาดเจ็บ ทั้งที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเป็นผู้สั่งให้ทหารสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่ชุมนุมกันอย่างสงบ ไม่ได้ดาวกระจายไปยึดกระทรวงและไปกดดันสื่ออย่างที่นายสุเทพทำ
ขณะที่กรณีมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังเกิดเหตุไม่นานนายอภิสิทธิ์และนายกรณ์ จาติกวณิช ก็ฉวย โอกาสประณามรัฐบาลทันทีว่าไม่ปกป้องประชาชน ทั้ง ที่ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงเลย แต่คดี 99 ศพสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์กลับเหมือนคนความจำเสื่อม แม้จะผ่านมากว่า 3 ปี นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพก็ไม่แสดงความรับ ผิดชอบใดๆหรือออกมาขอโทษประชาชนเลยแม้แต่คำเดียว จนกระทั่งตกเป็นผู้ต้องหา “ฆ่าคนตาย” ขณะนี้
เช่นเดียวกับนายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการ บดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ไปขึ้นเวทีของนักศึกษาต่อ ต้านคนเสื้อแดงด้วยนั้น ในอดีตเคยเป็นหนึ่งในผู้เข้าชื่อขอนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 ก่อนรัฐประหาร 2549 ก็ต้องรับผิดชอบที่ไม่สามารถดูแลนักศึกษาให้ชุม นุมภายในมหาวิทยาลัยอย่างสงบได้ จนเกิดเหตุการณ์รุนแรงทั้งที่ไม่ควรจะเกิด ปล่อยให้มีผู้ร้ายดักยิงผู้คนมา อยู่บนตึกในบริเวณมหาวิทยาลัยได้อย่างไร เพราะนอก จากมีนักศึกษาเสียชีวิต 1 คนแล้ว ยังทำให้คนเสื้อแดง ที่ชุมนุมภายในสนามราชมังคลากีฬาสถานอย่างสงบต้องเสียชีวิตถึง 3 คน ซึ่งทุกคนก็เป็นคนไทยเหมือนกัน
สันติ อหิงสาแบบ “สุเทพ
การประกาศชุมนุมแบบสันติ อหิงสา ของนายสุเทพจึงกลายเป็นหอกที่กลับมาทิ่มแทงตัวเอง หลังจาก ที่ใช้มวลชนดาวกระจายไปยึดกระทรวงและหน่วยงานราชการต่างๆ รวมถึงกดดันสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี.ทุกช่องให้เชื่อมสัญญาณการชุมนุมของ กปปส. จากบลู สกายทีวี โดยเฉพาะช่วงการแถลงข่าวของนายสุเทพ และให้งดการออกอากาศคำแถลงของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และนายกรัฐมนตรี
ทำให้ทุกสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่ถูกกดดันและองค์กรสื่อต้องออกแถลงการณ์ประณามนายสุเทพ โดยนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ชี้ว่า การเข้าควบคุมพื้นที่ฟรีทีวี.ในลักษณะนี้เป็นการละเมิดสิทธิสื่อมวลชน เนื่องจากบังคับให้สื่อนำเสนอหรือไม่นำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่งผลให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลไม่รอบด้าน ซึ่งขัดต่อหลักจรรยาบรรณและจริยธรรมสื่อ แม้จะมีสื่อกระแสหลักเสนอข่าวอย่างลำเอียงก็ตาม แต่ประชา ชนก็สามารถเลือกดูจากเคเบิลทีวี.และสื่อออนไลน์ที่ทุกฝ่ายก็มีสื่อของตัวเองที่เสนอข่าวด้านเดียวเช่นกัน
โดยนายสุเทพได้ออกมาปฏิเสธแก้เกี้ยวว่าไม่ได้คุกคาม แต่จำเป็นต้องพูดคุยกับสื่อขอให้เสนอข่าวของมวลมหาประชาชนบ้าง อย่าปิดหูปิดตาคนทั้งประเทศ ไปขอความเห็นใจแล้วจะโกรธเคืองอะไรนักหนา
ความเห็นของนายสุเทพไม่แตกต่างจากการให้เป่านกหวีดเพื่อเป็นการแสดงออกทางการเมืองและสันติ อหิงสา โดยเฉพาะเป่านกหวีดใส่รัฐมนตรี แต่ที่ผ่านมา กลับใช้เป็นการแสดงถึงความเกลียดชัง แม้แต่ ด.ช.ศุภ เสกข์ อมรฉัตร ลูกชายของนายกฯยิ่งลักษณ์ ยังถูกคนที่ เกลียดทักษิณเป่านกหวีดใส่ จนนายกฯยิ่งลักษณ์ออกมา
กล่าวว่า ให้แสดงออกความไม่พอใจกับตน ไม่ใช่ไปลงที่เด็ก
สภาประชาชนหรือสภาเผด็จการ
ส่วนแนวทางปฏิรูปการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ 6 แนวทางของนายสุเทพ โดยเฉพาะการจัดตั้ง “สภาประชาชน” ที่เป็นการ “ปฏิวัติของประชา ชน” ที่ไม่มีรายละเอียดใดๆออกมาเป็นรูปธรรมเลยนั้น ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั้งนักวิชาการ นักการเมือง และ นักธุรกิจ ว่าเหมือนกับการเพ้อฝันมากกว่า ทั้งอาจทำ ให้การเมืองไทยย้อนยุคกลับไปอีกหลายสิบปี เพราะจะกลับไปสู่ประชาธิปไตยที่ผ่านการแต่งตั้งของกลุ่มผู้มีอำ นาจหรือชนชั้นสูงไม่กี่คน เหมือนสภาฝักถั่วในอดีต หรือ ส.ว.ลากตั้ง และองค์กรอิสระในปัจจุบันที่เป็นมรดกตก ทอดจากรัฐประหาร ซึ่งต่อต้านระบอบประชาธิปไตยแบบ เลือกตั้งที่ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่ากัน 1 คน 1 เสียง
นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊คว่า นายสุเทพบอกว่าต้องการอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์ในการตั้งนายกรัฐมนตรีเอง ตั้งสภาประชาชนเอง ยกร่างรัฐธรรมนูญเอง แล้วนายสุเทพเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร และประชาชนไทยเจ้าของประเทศ ไปไว้ที่ไหนในกระบวนการนี้ทั้งหมด?
เว็บไซต์ต่างประเทศอย่างเซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ของฮ่องกง วิเคราะห์ “สภาประชาชน” ว่าน่าจะหมายถึง “กลุ่มผู้แทนฯในฝัน” ที่มีการคัดเลือกจากคนที่ไม่เปิดเผยตัวตน เพราหากให้มีการเลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ก็รู้ดีว่าต้องแพ้อยู่ดี
เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ ยังระบุอีกว่า นายสุเทพเองก็มีที่มาไม่ค่อยดีนักในสายตามวลชนบางคน ทำให้มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการเป็นแกนนำของนายสุเทพ
ชัยชนะที่แท้จริง
นายสุเทพเดินเกมผิดอย่างมากที่ตั้งเงื่อนไข “สภาประชาชน” แบบเฟ้อฝัน แม้มั่นใจว่าประชาชนจำนวนมากจะสนับสนุน หลังจากเห็นกระแสของประชาชนทั่วประเทศทุกสาขาอาชีพออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเหมาเข่ง จึงเดินหน้าคิดการใหญ่ด้วยการปลุกระดมประกาศยกระดับล้ม “ระบอบทักษิณ” และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งไม่ใช่เป็นความคิดของนายสุเทพคนเดียว แต่ยังมีกลุ่มอำนาจเดิมทั้งที่ยังมีอิทธิพลและไม่มีอิทธิพลร่วมวางแผนปลุกระดมให้เกิดปรากฏการณ์ “ไทยสปริง” ให้ได้ ไม่ว่าจะทำให้ประชาชนต้องตายอีก นับร้อยนับพันก็ตาม เพราะรู้ดีว่าหากไม่ฉวยโอกาสปลุก ระดมให้ประชาชนออกมาให้มากที่สุดก็จะไม่มีโอกาสล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณไปอีกนาน
แต่แล้วนายสุเทพและกลุ่มอำนาจเดิมก็เดินเกมผิดพลาดที่คิดว่าคนกรุงเทพฯจำนวนมากที่เคยออกมาต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะออกมาร่วมด้วย กลับกลายเป็นว่ามีคนจำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับการยกระดับการชุมนุมของนายสุเทพที่เกินความพอดี ม็อบราชดำเนินที่เปลี่ยนมาเป็น กปปส. ส่วนใหญ่จึงต้องใช้ประชาชนที่ระดมมาจากภาคใต้เป็นหลัก โดยมีกลุ่มเกลียดทักษิณหน้าเดิมๆ รวมถึงกลุ่มกองทัพธรรมของสันติอโศกที่เป็นขาประจำ
แม้นายสุเทพจะประกาศแบบขอไปทีว่าได้ชัย ชนะแล้วหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจยอมให้ประชาชนเข้าไปในทำเนียบรัฐบาลและ บช.น. แต่นายสุเทพก็รู้ดีว่าเป็นชัยชนะที่แท้จริงหรือไม่ ไม่ต่างกับนายอภิสิทธิ์ที่ยังโกหกตัวเองว่าเพราะรัฐบาลหมดสภาพและต้าน ทานประชาชนไม่ได้
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐ มนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) แถลงหลังสถานการณ์เริ่มเข้าสู่ความสงบและเจ้าหน้าที่ตำรวจยุติการใช้แก๊สน้ำตาว่า รัฐบาลพยายามอย่างที่สุดไม่ให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ จึงยอมเปิดทางให้ผู้ชุมนุมเพื่อลดความขัดแย้ง และแสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ โดยจะเร่งสืบหาความจริงโดยเร็ว ซึ่งต่างชาติก็เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะการชุมนุมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในระบอบรัฐ ธรรมนูญ จึงต้องมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน ส่วนแนวคิดการตั้งสภาประชาชนรัฐบาลพร้อมที่จะรับฟัง และนายสุเทพก็ควรมอบตัวในข้อหาตามประมวลกฎหมาย มาตรา 114 ที่ว่าด้วยผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธเตรียมสมคบเพื่อก่อการกบฏ มีโทษจำคุก 3-15 ปี
แพ้เป็นพระ-ชนะเป็น SHE
สถานการณ์การเมืองจะยุติลงอย่างไรยังไม่อาจมีฝ่ายใดชี้ชัด เพราะในขณะที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศเจตนารมณ์ถอยแล้วถอยอีก แต่นายสุเทพก็ยังประกาศจะเดินหน้าจัดชุมนุมอยู่ต่อไป ไม่ชนะไม่เลิก จนกว่าจะจัดตั้ง “สภาประชาชน” ต่อไปจนสำเร็จ เพื่อล้างระบอบทักษิณให้หมดไป และเอาอำนาจกลับคืนประชาชน โดยระบุว่าจะใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 3 ให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพเลือกตัวแทนมาเป็นสภาประชาชนเพื่อกำหนดแนวนโยบายและตรากฎหมายต่างๆ จากนั้นจะใช้บทบัญญัติตามมาตรา 7 เลือกนายกรัฐมนตรีและมีคณะรัฐมนตรีชั่วคราวขึ้น เพื่อแก้กฎหมายต่างๆ โดยเฉพาะกฎหมายเลือกตั้ง เพื่อให้ได้คนดีเท่านั้นมาเป็นนายกฯ
ซึ่งเป้าหมายของนายสุเทพก็สอดคล้องกับข้อเสนอของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่เสนอให้ยุบสภาและรัฐบาลลาออก หลังจากนั้นให้ตั้งรัฐบาลกลางและนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับว่านายกฯจะต้องมาจากการเลือกตั้ง
แม้หลายฝ่ายจะออกมาแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป แต่ดูเหมือนทุกฝ่ายก็ต้องการเห็นการปฏิรูปการ เมืองอย่างจริงจัง เพียงแต่ยังไม่สามารถประนีประนอมกันได้ เพราะต่างก็มองว่าฝ่ายตนถูกต้อง อีกฝ่ายหนึ่งผิด
อย่างไรก็ตาม คำว่า “มวลมหาประชาชน” ตามความหมายของแต่ละฝ่ายนั้นอาจมีนิยามแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะในขณะที่นายสุเทพเห็นว่ามวลมหาประชาชนที่ออกมาเป็นจำนวนมหาศาลบนถนนราชดำเนินเพื่อเป่านกหวีดล้มระบอบที่เรียกว่าระบอบทักษิณนั้นคือตัวแทนประชาชนทั้งประเทศ แต่ฝ่ายรัฐบาลกลับเห็นว่าเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนเลือกรัฐบาลนั้นคือเสียงส่วนใหญ่อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ กองทัพบกแถลงถึงจุดยืนของ พล.อ.ประยุทธ์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 3 ธันวาคมที่ไม่มีการปะทะถือเป็นนิมิตหมายที่ดี กองทัพยืนยันไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะการแก้ไขปัญหาการเมืองด้วยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรม นูญอาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนไทยด้วยกันเอง และนำไปสู่ความรุนแรง สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ จึงเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ ทุกฝ่ายอย่าได้ทำลายเกียรติยศศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน ใช้การพูดคุยเพื่อหาทางออกให้ประเทศชาติสามารถเดินหน้าไปได้และได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ
ไม่แตกต่างจากที่นายกฯยิ่งลักษณ์ได้แถลงย้ำว่า รัฐบาลขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมด้วยความละมุนละม่อม เพื่อไม่ให้มีการเผชิญหน้าและไม่นำไปสู่ความรุนแรงหรือการเสียเลือดเนื้อของพี่น้องประชาชน เพราะอยากเห็นการแก้ปัญหาที่จะนำมาสู่ความสงบสุขในระยะยาว แม้ว่าวันนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่บ้างก็ตาม แต่เชื่อว่าคนไทยสามารถหาทางออกให้กับประเทศได้
โดยนายกฯยิ่งลักษณ์ยืนยันจะแก้ปัญหาบ้านเมืองตามกระบวนการประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ โดยพร้อมจะเปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายและเปิดเวทีเพื่อหาทางออก ซึ่งเป็นการยืนยันที่จะให้บ้านเมืองเดินหน้าไปตามระบอบประชาธิปไตยที่มาจากประชา ชนอย่างที่นานาประเทศยอมรับ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นกว่า 1 เดือน ที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่านายกฯยิ่งลักษณ์เป็น ผู้นำที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงนายกฯที่ต้องอ่านสคริปต์อย่าง ที่ฝ่ายค้านกล่าวหาหรือใช้วาทกรรมกักขฬะเป็น  “อีโง่”
เพราะโดยภายใต้สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้  เมื่อเทียบกับนายกฯชายอกสามศอกที่เลือกใช้กำลังทหารเข้าสลายผู้ชุมนุมตามสี่แยกโดยที่ไม่เคยบุกรุกสถานที่ราชการจนมีคนตายร่วม 100 ศพแล้ว นายกฯยิ่งลักษณ์กลับสงบนิ่งและตอบคำถามผู้สื่อข่าวได้อย่างฉะฉาน ชัดเจน โดยไม่ออกอาการก้าวร้าวให้เห็น ภาพภาวะผู้นำและบารมีจึงเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่างน้อยประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็ต้องจารึกว่ารัฐบาลของ She คนนี้..ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เป็นรัฐบาล  “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” เหมือนผู้นำรัฐบาลในอดีต
แม้สถานการณ์วันนี้ยังไม่รู้ว่าในที่สุดจะจบอย่างไร แต่คำพังเพยที่ว่าแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมารอาจต้องเขียนใหม่เป็น “แพ้เป็นพระ ชนะเป็น  SHE” ก็ได้
                บัดเอย บัดนั้น มหากาพย์ราชดำเนิน ก็ยังดำเนินต่อไป.. (ถ้าจบง่ายๆก็คงไม่ใช่มหากาพย์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น