Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สื่อต่างชาติตีแผ่วิกฤตการเมืองไทยกลุ่มอำนาจเก่ายื้อชีวิต


บทคัดย่อจากผู้สื่อข่าวอเมริกันในประชาไทยโดยพีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์



   *   ในบรรดาหน่วยงานอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ คงไม่มีหน่วยงานใด ไม่รู้จักเมืองไทย  เพราะเมืองไทยเป็นสถานที่ที่ถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางด้านความมั่นคงของอเมริกัน ประเทศหนึ่งในภูมิภาค เป็นที่ตั้งของหน่วยงานอเมริกันและองค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร

Michael Peel: แห่งไฟแนนเชียลไทม์ วิเคราะห์ว่า สำหรับเมืองไทยไม่แน่ว่าอาจมีการกระทำ รัฐประหารขึ้นได้ตลอดเวลาแต่ทางกองทัพคงพยายามเลี่ยง เนื่องจากมีประสบการณ์ในปี 2006(2549) มาแล้ว และในปัจจุบันสถานการณ์หลายอย่างเปลี่ยนไป แต่กระนั้นก็ยังมีความคิดนี้ในบรรดานายทหารบางคน โดยเฉพาะความต้องการให้มีการรัฐประหารของคู่ขัดแย้งของรัฐบาลหรือฝ่ายไม่เอารัฐบาลยิ่งลักษณ์

หากกองทัพตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มคนดังกล่าว (ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอำนาจเก่า) สามารถนำไปสู่ “ความเสี่ยง” จากการนองเลือดครั้งใหม่หรือเกิดความขัดแย้งครั้งใหม่กับกลุ่มผู้ สนับสนุนรัฐบาลได้

ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นน้องสาวของทักษิณ  โดยเฉพาะประเด็นที่การที่ สส.ฝ่ายรัฐบาล(พรรคเพื่อไทย) พยายามเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายบางหัวข้อ เช่น ให้ สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ที่แต่เดิมมาจากการแต่งตั้ง ประมาณครึ่งหนึ่ง มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด  แต่การแก้ไขดังกล่าวกลับไม่ได้รับการอนุมัติจากศาล รัฐธรรมนูญ  ซึ่งฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลระบุว่า เป็นสถาบันที่เป็นตัวแทนของกลุ่มอำนาจเก่า และมาจากเจตนารมณ์ของคณะผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อปี 2006(2549)  โดยเรียกว่า เป็นระบบการรัฐประหารโดยคณะตุลาการ  หรือ Judicial coup 

Fuller: ให้ความสำคัญกับการมองปัญหาความขัดแย้งในเมืองไทยแง่ แบ่งสรรปันส่วนอำนาจ ทางเศรษฐกิจ  โดยอ้างการวิเคราะห์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ว่า ชนชั้นกลางชั้นนำเก่า(อำนาจเก่า) อดรนทนไม่ได้กับการมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นของคนในต่างจังหวัด ซึ่งพวกเขามองว่า คุกคามต่อสถานะความเป็นชนชั้นนำ(อำนาจเก่า)ที่เคยมีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมชุมนุมกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เป็นแกนนำการชุมนุม เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการทำงาน และที่สำคัญ คือ นายสุเทพ เสนอระบบให้ปฏิเสธเลือกตั้ง (abandon its electoral system) และจัดตั้งสภาประชาชน (People’s Council) ซึ่งการอธิบายรูปแบบของสภาดังกล่าว กลับไม่ชัดเจนแต่อย่างใด
ขณะที่อีกด้านหนึ่งกลุ่มชนชั้นนำของไทยที่เป็นเสียงข้างน้อยเริ่มไม่พอใจมากขึ้น จนถึงกระทั่งเมื่อ อ้างเสียงส่วนใหญ่ไม่ได้ ก็มีการอ้างถึง  “ความเป็นคนดี” ที่จะต้องต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย (good people fighting evil.) แทน นอกเหนือไปจากข้อกล่าวหาว่า คนต่างจังหวัด(เหนือ-อีสาน)  ซึ่งเป็นคนมีรายได้น้อยไม่รู้เรื่องการเมือง ชนชั้นกลางเมืองเท่านั้นที่รู้ ดังนั้นชนชั้นนำหรือชนชั้นกลางเก่าจึงคาดว่า คนจนเหล่านี้จะต้องเลือกนักการเมืองที่ให้เงินกับพวกเขา (The poor don’t know anything. They elect the people who give them money.)

Fuller: เห็นว่าจากประวัติศาสตร์ กองทัพไทยอยู่ข้างชนชั้นนำกรุงเทพ(Bangkok elite) โดยเฉพาะเหตุการณ์ภายหลังยึดอำนาจทักษิณในปี  2006(2549)  ที่กองทัพเข้าไปมีส่วนโดยตรงกับการแต่ง ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งต่อมาอำนาจของกองทัพดังกล่าวได้โยงไปถึงการแต่งตั้ง สว. ที่ส่งผ่านไปถึงฝ่ายองค์กรศาล(รัฐธรรมนูญ) และข้าราชการระดับสูง (Thomas Fuller : New York Times)Benedict Anderson ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนล อ้างวาทะของนักคิด Antonio Gramsci  เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในเมืองไทย ภายใต้สภาวะแห่งความน่าพรั่นพรึงขณะนี้ว่า

“เมื่ออำนาจเก่าไม่ยอมที่จะตาย ขณะที่อำนาจใหม่กำลังพยายามให้กำเนิด เมื่อนั้นฝูงปิศาจย่อมปรากฏ"
(When the old refuses to die, and the new is struggling to be born, monsters appear.)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น