จากเรื่อง "ปล้นเงิน" บ้าน "สุพจน์ ทรัพย์ล้อม" ปลัดกระทรวงคมนาคม ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กลายเป็นเรื่อง "การทุจริต" โครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ กระทรวงคมนาคม
ที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นำมาแฉกันกลางสภาแบบจะจะ ว่าเงินส่วนนี้อาจเกี่ยวพันกับโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีแดง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร มีทั้งหมด 6 สัญญา
สัญญา 1 เป็นงานออกแบบควบคู่กับการก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามชัย ผู้ดำเนินโครงการ คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 11,441 ล้านบาท
ที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นำมาแฉกันกลางสภาแบบจะจะ ว่าเงินส่วนนี้อาจเกี่ยวพันกับโครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีแดง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร มีทั้งหมด 6 สัญญา
สัญญา 1 เป็นงานออกแบบควบคู่กับการก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-สนามชัย ผู้ดำเนินโครงการ คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 11,441 ล้านบาท
สัญญา 2 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงสนามชัย-ท่าพระ ผู้ดำเนินโครงการ คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) วงเงิน 10,687 ล้านบาท
สัญญา 3 งานก่อสร้างทางยกระดับ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ และงานก่อสร้างทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง ผู้ดำเนินโครงการ คือ กิจการร่วมค้าเอสเอช-ยูเอ็น ประกอบด้วย บริษัท ซิโน ไฮโดร คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) วงเงิน 11,284 ล้านบาท
สัญญา 3 งานก่อสร้างทางยกระดับ ช่วงเตาปูน-ท่าพระ และงานก่อสร้างทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง ผู้ดำเนินโครงการ คือ กิจการร่วมค้าเอสเอช-ยูเอ็น ประกอบด้วย บริษัท ซิโน ไฮโดร คอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) วงเงิน 11,284 ล้านบาท
สัญญา 4 งานก่อสร้างทางยกระดับ ช่วงท่าพระ-หลักสอง และงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดรถ 2 แห่ง ผู้ดำเนินการ คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) วงเงิน 13,334 ล้านบาท
สัญญา 5 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบรางทั้งโครงการ ผู้ดำเนินโครงการ คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
สัญญา 5 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบรางทั้งโครงการ ผู้ดำเนินโครงการ คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
และ สัญญา 6 งานระบบรถไฟฟ้า อยู่ระหว่างเตรียมประกวดราคา
โดยทุกสัญญาที่ดำเนินโครงการแล้ว ลงนามเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 ในช่วงที่นายโสภณ ซารัมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม เป็นปลัดกระทรวงคมนาคม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร มีทั้งหมด 6 สัญญา
สัญญา 1 เป็นโครงสร้างทางยกระดับตะวันออกช่วงบางซื่อ-เตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ผู้ดำเนินโครงการ คือ กิจการร่วมค้าซีเคทีซี ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด วงเงิน 14,842 ล้านบาท ลงนามเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2552 ในช่วงที่นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ เป็นปลัดกระทรวงคมนาคม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร มีทั้งหมด 6 สัญญา
สัญญา 1 เป็นโครงสร้างทางยกระดับตะวันออกช่วงบางซื่อ-เตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า ผู้ดำเนินโครงการ คือ กิจการร่วมค้าซีเคทีซี ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด วงเงิน 14,842 ล้านบาท ลงนามเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2552 ในช่วงที่นายสุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ เป็นปลัดกระทรวงคมนาคม
สัญญา 2 เป็นโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตก ช่วงสะพานพระนั่งเกล้า-คลองบางไผ่ และงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ดำเนินโครงการ คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) วงเงิน 13,050 ล้านบาท ลงนามเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2553
สัญญา 3 เป็นงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ผู้ดำเนินโครงการ คือ กิจการร่วมค้าพีเออาร์ ประกอบด้วย บริษัท เพาเวอร์ไลน์ จำกัด และบริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด วงเงิน 5,050 ล้านบาท ลงนามเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
สัญญา 3 เป็นงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ ผู้ดำเนินโครงการ คือ กิจการร่วมค้าพีเออาร์ ประกอบด้วย บริษัท เพาเวอร์ไลน์ จำกัด และบริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด วงเงิน 5,050 ล้านบาท ลงนามเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
สัญญา 4 งานระบบรถไฟฟ้า ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ผู้ดำเนินโครงการ คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล วงเงิน 93,475 ล้านบาท ลงนามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554
สัญญา 5 งานระบบรถไฟฟ้า ช่วงเตาปูน-บางซื่อ อยู่ระหว่างเตรียมลงนามกับบีเอ็มซีแอล
และ สัญญา 6 งานระบบราง วงเงิน 3,663 ล้านบาท อยู่ระหว่างประกวดราคา
ทุกสัญญาที่ลงนามแล้วอยู่ในช่วงที่นายโสภณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และตั้งแต่สัญญา 2-6 อยู่ในช่วงนายสุพจน์ เป็นปลัดกระทรวงคมนาคม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร แยกเป็น
ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีสัญญาเดียว คือ งานโยธา ก่อสร้างสถานีรถไฟบางซื่อ และอาคารซ่อมบำรุง ผู้ดำเนินโครงการ คือ กิจการร่วมค้า Unique-Chun Wo Joint Ventuer วงเงิน 8,748 ล้านบาท ลงนาม 12 ธันวาคม 2551
ในช่วงที่นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ เป็นปลัดกระทรวงคมนาคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ส่วนนายโสภณเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ส่วนช่วงบางซื่อ-รังสิต มี 3 สัญญา ระยะทางรวม 20 กิโลเมตร สัญญา 1 เป็นงานโยธาสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ระหว่างประกวดราคา สัญญา 2 งานโยธา ช่วงบางซื่อ-รังสิต อยู่ระหว่างประกวดราคา และ สัญญา 3 งานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า อยู่ระหว่างประกวดราคาเช่นเดียวกัน โดยวงเงินงบประมาณทั้ง 3 สัญญา ประมาณ 45,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ นายโสภณ ซารัมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2551-9 สิงหาคม 2554 ส่วนนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม เข้ารับตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นมา
โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร แยกเป็น
ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีสัญญาเดียว คือ งานโยธา ก่อสร้างสถานีรถไฟบางซื่อ และอาคารซ่อมบำรุง ผู้ดำเนินโครงการ คือ กิจการร่วมค้า Unique-Chun Wo Joint Ventuer วงเงิน 8,748 ล้านบาท ลงนาม 12 ธันวาคม 2551
ในช่วงที่นายชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ เป็นปลัดกระทรวงคมนาคม นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ส่วนนายโสภณเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ส่วนช่วงบางซื่อ-รังสิต มี 3 สัญญา ระยะทางรวม 20 กิโลเมตร สัญญา 1 เป็นงานโยธาสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ระหว่างประกวดราคา สัญญา 2 งานโยธา ช่วงบางซื่อ-รังสิต อยู่ระหว่างประกวดราคา และ สัญญา 3 งานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า อยู่ระหว่างประกวดราคาเช่นเดียวกัน โดยวงเงินงบประมาณทั้ง 3 สัญญา ประมาณ 45,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ นายโสภณ ซารัมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2551-9 สิงหาคม 2554 ส่วนนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม เข้ารับตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 เป็นต้นมา