ลงทะเล
โดย วรศักดิ์ ประยูรศุข
(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 26 ตุลาคม 2554)
น้ำท่วมครั้งนี้ เป็น "ประสบการณ์ใหม่" ของคนจำนวนไม่น้อย
หลังจากสึนามิเมื่อปี 2544 ก็คงจะมีน้ำท่วมหนนี้ ที่ชักนำคนไทยให้มาจดจ่อหวั่นไหวในเรื่องเดียวกัน ค่อยๆ จับต้นชนปลายข้อมูลข่าวสาร ทำความเข้าใจกับสถานการณ์
สึนามิญี่ปุ่นเมื่อต้นปี ที่ซ้ำเติมด้วยสารกัมมันตรังสีรั่ว ในมุมหนึ่ง ทำให้ได้เห็นความนิ่งในการรับมือและอยู่ร่วมกับวิกฤตของชาวบูชิโด
นักเขียน คอลัมนิสต์ในบ้านเมืองเรานำมาเขียนชื่นชมกันอยู่พักหนึ่ง
หลังจากสึนามิเมื่อปี 2544 ก็คงจะมีน้ำท่วมหนนี้ ที่ชักนำคนไทยให้มาจดจ่อหวั่นไหวในเรื่องเดียวกัน ค่อยๆ จับต้นชนปลายข้อมูลข่าวสาร ทำความเข้าใจกับสถานการณ์
สึนามิญี่ปุ่นเมื่อต้นปี ที่ซ้ำเติมด้วยสารกัมมันตรังสีรั่ว ในมุมหนึ่ง ทำให้ได้เห็นความนิ่งในการรับมือและอยู่ร่วมกับวิกฤตของชาวบูชิโด
นักเขียน คอลัมนิสต์ในบ้านเมืองเรานำมาเขียนชื่นชมกันอยู่พักหนึ่ง
ตอนนี้ถึงเวลาของประเทศไทย จะรับมือและอยู่ร่วมกับสถานการณ์ตรงหน้าอย่างไร
แต่จะคาดหวังให้เหมือนกันคงยาก เพราะคนละที่ละทางกัน รายละเอียดก็แตกต่างกันมาก
อย่างพื้นฐานที่สุด ก็คือ ประเทศไทยไม่มีประสบการณ์ในการรับมือกับภัยพิบัติใหญ่ๆ
ขนาดกฎหมายที่จะใช้ ยังมีคนพยายามชง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เอาไว้ปราบม็อบ
จนกระทั่งโภคิน พลกุล ที่เคยเป็นมือกฎหมายรัฐบาลทักษิณ มาชี้ช่องให้ใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
น้ำท่วมครั้งนี้มีลักษณะพิเศษ ตรงที่มีการสะสมน้ำมานานนับเดือน แต่การระบายลงทะเลไม่ได้สัดส่วนกัน
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน อันเป็นช่วงต้นฤดูฝน มีพายุเข้าไทย และฟาดหางผ่านๆ ติดต่อกันเป็นซีรีส์ ตั้งแต่ ไห่หมาน, นกเตน, ไหถาง, เนสาด, นาลแก เขื่อนหลักๆ เต็มความจุไปตามๆ กัน
ที่แน่ๆ น้ำประมาณ 1.5 หมื่นล้าน ลบ.เมตร มาจ่ออยู่เหนือกรุงเทพฯ รอระบายลงทะเล ด้วยเส้นทาง 3 ทาง คือ ตะวันตกด้านแม่น้ำท่าจีน ผ่ากลาง กทม.ด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและคูคลอง ระบบสูบและประตูน้ำ อุโมงค์ยักษ์ และตะวันออก ด้านแม่น้ำบางปะกง
น้ำมหาศาล ระบายน้อย กักเก็บไว้นานนับเดือน ด้วยเหตุผลอะไร เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องมาสะสางกันต่อไป
ถ้าน้ำไหลไปตามเส้นทางอย่างมีระเบียบวินัย ไม่แตกแถว เรื่องคงจบ
แต่ไม่จบ เพราะประตูไม่เปิดบ้าง เกิดรายการแหก พังคันกั้นบ้าง ไหลไปในทิศทางที่ไม่พึงประสงค์บ้าง เข้าตรงไหนก็ยุ่งตรงนั้น
หลายๆ หมู่บ้านที่มีประสบการณ์ในการรับมือน้ำท่วมเมื่อปี 2538 และอยู่รอดปลอดภัยมาแล้ว นำเอาวิธีการเดิมมาใช้ ปรากฏว่า น้ำมาตูมเดียวจบ โจทย์ใหม่คือ ปริมาณน้ำทั้งมาก แรง เและเร็ว เพราะสะสมที่ต้นทางจำนวนมาก สภาพภูมิประเทศก็แตกต่าง ไหนยังถนนหนทาง บ้านเรือน ชุมชนเกิดใหม่ วัชพืช ผักตกชวา ทับเส้นทางน้ำ
วิธีการเดียวกัน ที่เคยได้ผลในปี 2538 จึงให้ผลที่แตกต่างในปี 2554
สภาพที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องค้นให้พบ และนำมาวิเคราะห์เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว
และถ้าจะระบายนักการเมืองที่เกะกะๆ ขวางทางน้ำ ลงทะเลไปบ้างก็ดีเหมือนกัน
น้ำเน่าครั้งนี้มีประโยชน์กับประเทศไทยอย่างมากมายมหาศาล แม้จะมีการเสียหายมากมายเช่นกัน แต่ถ้าไม่มีการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ต่อเราจะเสียหายเปล่า
ตอบลบ