โดย YING/QI
เดือนตุลาคมค.ศ. 1911 การปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นในประเทศจีน เป็นการสิ้นสุดระบอบจักรพรรดิที่ปกครองประเทศจีนนานกว่า 2,000 ปี ซึ่งเป็นประเทศใหญ่ที่มีประชากร 1 ใน 4 ของโลก ปีนั้นนับเป็นปีซินไฮ่ตามจันทรคติจีน การปฏิวัติครั้งนี้จึงเรียกว่า "การปฏิวัติซินไฮ่"
การปฏิวัติซินไฮ่ทำให้ประชาชาติจีนตื่นตัวจากความอ่อนแอ ได้ปลูกฝังความคิดประชาธิปไตยและระบบสาธารณรัฐเข้าสู่จิตใจชาวจีน เป็นการเปิดฉากการปฏิวัติประชาธิปไตยของจีน นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของการต่อต้านการรุกรานของประเทศจักรวรรดินิยม การปฏิวัติซินไฮ่นับเป็นเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์จีน
เหตุใดต้องพูดว่า การปฏิวัติซินไฮ่เป็นการปฏิวัติที่ทำให้จีนเกิดการเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ศตวรรษที่ 20 นายจิน ชงจี๋ รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเอกสารประวัติศาสตร์ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนระบุว่า ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การปฏิวัติซินไฮ่เป็นการปฏิวัติแบบประชาธิปไตยแห่งชาติร่วมสมัย ในประวัติศาสตร์ประชาชาติจีนที่เป็นเวลาหลายพันปี การปฏิวัติซินไฮ่ได้เสนอเป้าหมายใหม่เพื่อมุ่งมั่นสู่อนาคต ซึ่งมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ เบื้องหลังสถานการณ์โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทางออกของจีนอยู่ที่ไหน ก่อนหน้านี้ จีนเคยทดลองดำเนินการปฏิวัติหลายแบบหลายครั้ง แต่ไม่เคยสำเร็จและไม่สามารถมองเห็นอนาคตที่สดใส ดร.ซุน ยัตเซ็น สมนามเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่ยืนอยู่แนวหน้าแห่งยุคสมัย เบื้องหน้าข้อขัดแย้งทางสังคมที่สลับซับซ้อนยิ่งของจีน ดร.ซุน ยัตเซ็น ได้เสนอให้แก้ปัญหาหลัก 3 ปัญหาได้แก่ เอกราชแห่งชาติ การเมืองแบบประชาธิปไตย ความสุขของประชาชน (ซึ่งก็คือ ลัทธิไตรราษฎร์ ) และเสนอให้ใช้รูปแบบการปฏิวัติ ข้อเสนอของ ดร.ซุน ยัตเซ็น เป็นความคิดใหม่ ก่อนหน้านี้ ยังไม่มีใครเสนอเช่นนี้ ซึ่งแนวคิดใหม่ดังกล่าวให้แง่คิดแก่คนจีนหลายชั่วคน ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ประชาชนจีนหลายชั่วคนใช้ความพยายามและฟันฝ่าต่อสู้อย่างไม่ลดละเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จนถึงปัจจุบัน คนจีนส่วนใหญ่ยังถือว่า ตนเองเป็นผู้สืบทอดภารกิจของดร.ซุน ยัตเซ็น
2. การปฏิวัติซินไฮ่สามารถโค่นล้มการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสังคมศักดินาของจีนที่มีมานานหลายพันปี และสร้างระบอบการปกครองแบบสาธารณะรัฐ นี่เป็นผลงานทางประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการปฏิวัติซินไฮ่ จึงมีความหมายลึกซึ้งยาวไกล ที่น่าสนใจคือ ในสมัยนั้น โลกนี้ประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองแบบสาธารณะรัฐยังมีน้อยมาก ทางตะวันตกมีแต่สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส 2 ประเทศเท่านั้น ส่วนเอเชียยังไม่มีเลย
3. การยุติลงของระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งในด้านจิตสำนึกของประชาชนซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงใน 2 ด้าน คือ จิตใจประชาธิปไตยได้รับความนิยมอย่างมาก และความคิดได้รับการปลดปล่อยอย่างกว้างขวาง การมีจิตสำนึกแบบประชาธิปไตย ต้องมีเงื่อนไขก่อน คือ ประชาชนตระหนักถึงบทบาทของตัวเองที่มีต่อชาติ ดร.ซุน ยัตเซ็นระบุว่า กฎหมายเฉพาะกาลของสาธารณรัฐจีนต้องบรรจุเนื้อความว่า "อธิปไตยของสาธารณรัฐจีนขึ้นกับประชาชนทั้งหลาย" และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐบาลเป็นผู้รับใช้
ประชาชน แม้ว่า หลายเรื่องยังเหมือนเดิมในสภาพจริงก็ตาม แต่จิตสำนึกของประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง และต่างตระหนักถึงตนเองเป็นเจ้าของรัฐ มีสิทธิออกเสียงต่อกิจการบ้านเมือง ดังนั้น สื่อมวลชนทางสังคมพากันสะท้อนความคิดเห็นของมวลชนอย่างคึกคัก สมาคมและกลุ่มชนของสังคมทยอยก่อตั้งขึ้น โดยได้ผลักดันให้มีการจัดกิจกรรมสังคม
หลากหลาย ผู้นำและผู้อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เช่น นายจู เต๋อ นายต่ง ปี้อู่ นายหลิน โป๋ฉวี นายอู๋ อวี้จาง เป็นต้น ล้วนเป็นผู้เข้าร่วมการปฏิวัติซินไฮ่ตั้งแต่แรกเริ่ม นายเหมา เจ๋อตง ผู้รุ่นเยาว์กว่าก็สนับสนุนการปฏิวัติซินไฮ่หลังเกิดลุกฮือสู้อู่ชางแล้ว พวกเขาได้เรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิวัติซินไฮ่และได้วิสัยทัศน์ใหม่และเริ่มการค้นคว้าวิธีใหม่เพื่อพิจารณาแก้ปัญหาประชาชาติจีน นี่ก็คือประวัติศาสตร์ คนรุ่นหลังมักจะติดตามรอยต่อของคนรุ่นเก่า ก้าวหน้าต่อไปตามเป้าหมายของคนรุ่นเก่า และมักจะต้องเหนือกว่าคนรุ่นเก่าอย่างมาก แต่บทบาทและผลสำเร็จทางประวัติศาสตร์ของคนรุ่นเก่าจะไม่มีคนลืมเลือน โดยจะถูกจดจำตลอดไป เพราะไม่มีเมื่อวานก็ไม่มีวันนี้กับวันพรุ่งนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น