วันที่ 29 มิถุนายน
55 เวลา 13.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ส.ส.สุนัย จุลพงศธร
ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ ได้นำคณะกรรมมาธิการการต่างประเทศ เข้าพบนายซง
ซาง-ฮยุน (Song Sang-Hyun)ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ และนายมิเชล เดอ
สเม็ดต์ (Michel de Smedt)ผู้อำนวยการส่วนงานพิจารณาคดี
ของสำนักอัยการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศาลอาญาระหว่างประเทศ
ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ(International Criminal Court :ICC) ที่กรุงเฮก
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ส.ส.สุนัย กล่าวว่า การพบประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ในครั้งนี้เพื่อเชิญให้เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับ กฎหมายและการเข้าเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่าประเทศ ที่คณะกรรมาธิการการต่างประเทศจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ.2555 นี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่จำเลยเป็นผู้ถือ สัญชาติของรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ ที่ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นสมาชิกภาคีทั้งหมก 121 ประเทศ หรือคดีที่อ้างว่าเกิดขึ้นในดินแดนของรัฐภาคี คดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยื่นเรื่องราวมา และต้องเป็นกรณีที่ศาลภายในของรัฐนั้น ๆ ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจจะดำเนินคดี
ซึ่งศาลแห่งนี้จะอำนาจชำระคดีสำหรับความผิดอาญาสี่ประเภท คือ ความผิดอาญาฐานล้างเผ่าพันธุ์ (crime of genocide), ความผิดอาญาต่อมนุษยชาติ (crime against humanity), ความผิดอาญาศึก(war crime) และ ความผิดอาญาฐานรุกราน(crime of aggression) แต่ความผิดอาญาประเภทสุดท้ายยังไม่อยู่ในอำนาจของศาลตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในธรรมนูญกรุงโรมฯ
ส่วนสำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบงานสืบสวนและงานฟ้องคดี กำหนดให้สำนักงานอัยการมีอิสระในการดำเนินงานของตนเอง ซึ่งสำนักงานอัยการแห่งนี้จะเริ่มสืบสวนคดีได้เมื่อ
1.รัฐภาคียื่นเรื่องขอ ให้มีการไต่สวน
2.คณะมนตรความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยื่นเรื่องหรือสถานการณ์ที่อาจเป็นภัย คุกคามสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และ
3.เมื่อองค์คณะตุลาการชั้นไต่สวนมูลฟ้องอนุญาตให้สืบสวนข้อมูลข่าวสารที่ ศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับมาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐบาลแจ้งมา
ในการพิจารณาคดีแต่ละคดีนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่สามารถนำคดีที่เกิด ก่อนให้สัตยาบันมาพิจารณาได้ หรือไมสามารถพิจารณาคดีย้อนหลัง การดำเนินการพิจารณาคดีจะทำอย่างโปร่งใสผู้ที่เข้ารับฟังการพิจารณาคดี สามารถเห็นทุกขั้นตอนของการพิจารณาคดี และผู้ที่ต้องขึ้นศาลทั้งโจทก์ จำเลย จะนั่งอยู่ในแนวระนาบเดียวกันโดยไม่หันหน้าเข้าหากันเพื่อไม่ให้เกิดความกด ดันขึ้น และนอกจากนี้ยังมีระบบคุ้มครองพยายานด้วย
ส.ส.สุนัย กล่าวว่า การพบประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ในครั้งนี้เพื่อเชิญให้เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับ กฎหมายและการเข้าเป็นสมาชิกศาลอาญาระหว่าประเทศ ที่คณะกรรมาธิการการต่างประเทศจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ.2555 นี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่จำเลยเป็นผู้ถือ สัญชาติของรัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมฯ ที่ปัจจุบันมีประเทศที่เป็นสมาชิกภาคีทั้งหมก 121 ประเทศ หรือคดีที่อ้างว่าเกิดขึ้นในดินแดนของรัฐภาคี คดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยื่นเรื่องราวมา และต้องเป็นกรณีที่ศาลภายในของรัฐนั้น ๆ ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจจะดำเนินคดี
ซึ่งศาลแห่งนี้จะอำนาจชำระคดีสำหรับความผิดอาญาสี่ประเภท คือ ความผิดอาญาฐานล้างเผ่าพันธุ์ (crime of genocide), ความผิดอาญาต่อมนุษยชาติ (crime against humanity), ความผิดอาญาศึก(war crime) และ ความผิดอาญาฐานรุกราน(crime of aggression) แต่ความผิดอาญาประเภทสุดท้ายยังไม่อยู่ในอำนาจของศาลตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในธรรมนูญกรุงโรมฯ
ส่วนสำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบงานสืบสวนและงานฟ้องคดี กำหนดให้สำนักงานอัยการมีอิสระในการดำเนินงานของตนเอง ซึ่งสำนักงานอัยการแห่งนี้จะเริ่มสืบสวนคดีได้เมื่อ
1.รัฐภาคียื่นเรื่องขอ ให้มีการไต่สวน
2.คณะมนตรความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยื่นเรื่องหรือสถานการณ์ที่อาจเป็นภัย คุกคามสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และ
3.เมื่อองค์คณะตุลาการชั้นไต่สวนมูลฟ้องอนุญาตให้สืบสวนข้อมูลข่าวสารที่ ศาลอาญาระหว่างประเทศได้รับมาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐบาลแจ้งมา
ในการพิจารณาคดีแต่ละคดีนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่สามารถนำคดีที่เกิด ก่อนให้สัตยาบันมาพิจารณาได้ หรือไมสามารถพิจารณาคดีย้อนหลัง การดำเนินการพิจารณาคดีจะทำอย่างโปร่งใสผู้ที่เข้ารับฟังการพิจารณาคดี สามารถเห็นทุกขั้นตอนของการพิจารณาคดี และผู้ที่ต้องขึ้นศาลทั้งโจทก์ จำเลย จะนั่งอยู่ในแนวระนาบเดียวกันโดยไม่หันหน้าเข้าหากันเพื่อไม่ให้เกิดความกด ดันขึ้น และนอกจากนี้ยังมีระบบคุ้มครองพยายานด้วย
------ คำแปล หนังสือถึง ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ------
สภาผู้แทนราษฎร
21 มิถุนายน พ.ศ. 2555
กราบเรียน ฯพณฯ ซาง ฮุน ซอง
ประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ
ข้าพเจ้าใคร่ขออ้างถึงการเข้าพบกับ ฯพณฯ ฮานส์ ปีเตอร์ กุล
รองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ในเดือน ธันวาคม 2011
โดยคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ของประเทศไทย
ได้รับเชิญให้เข้าเยี่ยมชมศาล ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ข้าพเจ้าในฐานะประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎร ได้ปรึกษาร่วมกับคณะกรรมาธิการท่านอื่นๆ และได้มีมติร่วมกันว่า จะจัดให้มีการเยือนศาล
ในเดือนมิถุนายน 2012 โดย ในระหว่างการเยือนนั้น
คณะกรรมาธิการยังมีความประสงค์ที่จะเข้าเยี่ยมคาราวะ และเรียนเชิญ ฯพณฯ
เข้าร่วมงานเสวนาทางวิชาการ ซึ่งจะจัดขึ้นในประเทศไทย
โดยเพื่อเป็นการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ
คณะกรรมาธิการมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้มีการลงสัตยาบันในสนธิสัญญากรุงโรม
ในฐานะที่เป็นกลไกที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง
และก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติในประเทศไทยอีก ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงขอเรียนเชิญ
ฯพณฯ เข้าร่วมงานเสวนาดังกล่าวด้วยตัวข้าพเจ้าเอง โดยงานเสวนากำหนดจัดขึ้นประมาณปลายปีนี้
ทั้งนี้ รายละเอียดต่างๆ จะได้เรียนให้ ฯพณฯ ทราบโดยเร็วหลังจากได้ข้อสรุปแล้วอีกครั้ง
ในการนี้
ข้าพเจ้าใคร่ขออนุญาตเข้าพบ ฯพณฯ ในวันที่ 29 มิถุนายน 2012 ในเวลา
13.30 น. หรือตามเวลาที่ ฯพณฯ จักสะดวก โดยจะมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก
อีกครั้ง
ขอแสดงความเคารพอย่างสูง
(นายสุนัย
จุลพงศธร)
ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎร
------ คำแปล หนังสือถึง หัวหน้าอัยการ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ------
สภาผู้แทนราษฎร
21 มิถุนายน พ.ศ. 2555
กราบเรียน ฯพณฯ ฟาตัว เบนโซดา
หัวหน้าอัยการ ศาลอาญาระหว่างประเทศ
กรุงเฮก
ในฐานะประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะแสดงความยินดีกับ ฯพณฯ
ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าอัยการ ของศาลอาญาระหว่างประเทศ
ในการนี้
ข้าพเจ้าใคร่ขออ้างถึงจดหมาย ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2011 ซึ่งได้มอบให้ ฯพณฯ
หลุยส์ โมเรโน โอคัมโป ซึ่งได้ขอให้ ฯพณฯ
เปิดทำการไต่สวนในคดี ความรุนแรงในฐานะอาชญากรรมที่กระทำต่อมนุษยชาติ
ที่ได้อุบัติขึ้นในกรุงเทพ ประเทศไทย โดยได้แนบจดหมายนั้นมาด้วยกับหนังสือฉบับนี้
ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ข้าพเจ้าได้ปรึกษาร่วมกับคณะกรรมาธิการท่านอื่นๆ และได้มีมติร่วมกันว่า จะจัดให้มีการเยือนศาล
ในเดือนมิถุนายน 2012
โดยในระหว่างการเยือนนั้น คณะกรรมาธิการยังมีความประสงค์ที่จะเข้าเยี่ยมคาราวะ
และเรียนเชิญ ฯพณฯ เข้าร่วมงานเสวนาทางวิชาการ ซึ่งจะจัดขึ้นในประเทศไทย
โดยเพื่อเป็นการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ
คณะกรรมาธิการมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้มีการลงสัตยาบันในสนธิสัญญากรุงโรม
ในฐานะที่เป็นกลไกที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง
และก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติในประเทศไทยอีก ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงขอเรียนเชิญ
ฯพณฯ เข้าร่วมงานเสวนาดังกล่าวด้วย ตัวข้าพเจ้าเอง
โดยงานเสวนากำหนดจัดขึ้นประมาณปลายปีนี้ ทั้งนี้ รายละเอียดต่างๆ จะได้เรียนให้
ฯพณฯ ทราบโดยเร็วหลังจากได้ข้อสรุปแล้วอีกครั้ง
ในการนี้
ข้าพเจ้าใคร่ขออนุญาตเข้าพบ ฯพณฯ ในวันที่ 29 มิถุนายน 2012 ในเวลา
13.30 น. หรือตามเวลาที่ ฯพณฯ จักสะดวก
โดยจะมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก อีกครั้ง
ขอแสดงความเคารพอย่างสูง
(นายสุนัย จุลพงศธร)
ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น