Sunai Fan Club

Sunai Fan Club
สุนัยแฟนคลับ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ก้าวกระโดดของลาวกับรถไฟความเร็วสูง ลาว-จีน

ที่มา: louangprabang.net
นำเสนอโดย ทีมข่าว Sunai Fan Club

ภาพ ร.ฟ.จ.(รถไฟจีน) สู่ ร.ฟ.ล.(รถไฟลาว)

ภาพ ร.ฟ.ท. (รถไฟไทย) !? 

การก่อสร้างอาจจะเริ่มได้ในปี2554 เพื่อให้แล้วเสร็จในปี 2558 ฉลองครบรอบปีที่ 40 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ความก้าวหน้าของประเทศเพื่อนบ้านของเรา กำลังพัฒนาระบบขนส่งทางบกไปไกลกว่าเราแล้วหรือยัง? ผมเองก็อดหันกลับมามองประเทศไทยเราไม่ได้ว่า 120กว่าปี ร.ฟ.ท. (รถไฟไทย) พัฒนาไปถึงไหน?  แล้วหันไปมอง ร.ฟ.ล. (รถไฟลาว) ว่าเขาไปไกลกว่าเราหรือยัง? 
กระทรวงการรถไฟจีนได้จัดทำภาพจำลองเส้นทางรถไฟหัวกระสุน จีน-ลาว ระยะทางกว่า 421 กิโลเมตร และมีการนำคลิปความยาวกว่า 7 นาทีขึ้นเผยแพร่บน YouTube

เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา แสดงรายละเอียดรวมทั้งการที่จะต้องแล่นในอุโมงค์ลอดภูเขาหลายช่วง เป็นระยะทางตั้งแต่ 7-11 กม.
 

รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน
ท่านหยางเจียจื่อ (
Yang Jiezhi) กล่าวกับรัฐมนตรีต่างประเทศลาว ท่านทองลุน สีสุลิด ในนครคุนหมิง วันที่ 25 ม.ค.2553 ที่ผ่านมา ว่าฝ่ายจีนประเมินโครงการก่อสร้างรถไฟหัวกระสุนจีน-ลาว เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างเจรจากับแหล่งเงินทุนต่างๆ สำหรับการก่อสร้าง


ท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีผู้ประจำการรัฐบาลเปิดเผยในกรุงปักกิ่ง วันที่ 7 ธ.ค.2553  การก่อสร้างอาจจะเริ่มได้ในปีนี้เพื่อให้แล้วเสร็จในปี 2558 ฉลองครบรอบปีที่ 40 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ท่านสมสะหวาด รายงานต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติในเดือนเดียวกัน ระบุว่า ทางรถไฟความเร็วสูงกำลังจะตัดผ่านอุโมงค์ลอดภูเขากับสะพานรวมเป็นระยะทางเป็นเกือบ
2 ใน 3 ของตลอดเส้นทาง และ ด้วยเงินทุน 7,000 ล้านดอลลาร์ ด้วยการร่วมทุนจีน 70% กับฝ่ายลาวอีก 30%
 

คลิปที่เผยแพร่นี้ยังกล่าวถึงรายละเอียดส่วนหนึ่งที่ว่า ทางรถไฟหัวกระสุนที่กำลังจะสร้างในเฟสที่ 1 นี้ จะเป็นรางเดี่ยว โดยเว้นที่สำหรับก่อสร้างรางคู่ในอนาคตอีกด้วย ทั้งยังย้ำอีกว่าทั้งหมดออกแบบมาเพื่อขนส่งทั้งคนและสินค้า
 
ทางการคอมมิวนิสต์จีนได้ประกาศเป็นนโยบายที่รวมตัวเข้าร่วมส่วนกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ตามแผนการเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ที่จะทำให้เกิดประชาคมเศรษฐกิจที่มีประชากรกันประมาณ 1,900 ล้านคน
 
รถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน-ลาว เป็นเพียงช่วงหนึ่งของแผนการที่จะสร้างเชื่อมต่อกับไทย มาเลเซีย ไปจนถึงสิงคโปร์ และ จีน ยังมีแผนการก่อสร้างอีกสายหนึ่งไปยัง นครย่างกุ้งของพม่า ระยะทางกว่า 2,000 กม.



รายชื่อสถานีรถไฟในประเทศลาว ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกไม่นานเกินรอทั้ง 21 สถานี ได้แก่
สถานีบ่อเต็น (Boten) ชายแดนลาว จีน

สถานีบ้านนาธง (Ban Na Thong) ไม่ผ่านเมืองหลวงน้ำทา ทางรถไฟจะลอดผ่านอุโมงค์ที่บ้านคอนหลวง ความยาว 9,260 เมตร ระหว่าง บ้านนาธง บ้านหัวน้ำ

สถานีบ้านหัวน้ำ (Ban Hua Nam)

สถานีเมืองไซ (Muong Xai) เมืองเอกของแขวงอุดมไซ ซึ่งจากแขวงอุดมไซสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองปากแบ่ง, แขวงพงสาลี, แขวงหลวงน้ำทาและ เมืองน้ำบาก ทางรถไฟจะลอดผ่านอุโมงค์ที่ภูงวด ความยาว 7,820 เมตร

สถานีบ้านนาโคกใต้ (Ban Na Khok Tay) ทางรถไฟจะลอดผ่านอุโมงค์ที่บ้านพูเกือ ความยาว 8,790 เมตร ระหว่าง บ้านนาโคกใต้ ห้วยภูลาย

สถานีห้วยภูลาย (Huoi Phou Lai)

สถานีหลวงพระบาง (Luang Prabang)

สถานีเชียงเงิน (Muong Xieng Ngeun) เมืองเชียงเงินตั้งอยู่ในแขวงหลวงพระบาง บนฝั่งแม่น้ำคาน จากเชียงเงินสามารถเดินทางไปเมืองภูคูนและแขวงไซยะบูลี ทางรถไฟจะลอดผ่าน อุโมงค์ที่ภูยา ความยาว 11,295 เมตร (ระหว่าง เมืองเชียงเงิน บ้านแสน)
สถานีบ้านแสน (Ban Sen)
สถานีกาสี (Kasi) เมืองกาสีบนฝั่งแม่น้ำลิก แขวงเวียงจันทน์
สถานีบ้านบัวเผือก (Ban Bua Pheouk)
สถานีบ้านผาตั้ง (Ban Pha Tang)
สถานีวังเวียง (Vang Vieng) เมืองท่องเที่ยวใหญ่ริมน้ำซอง ใน แขวงเวียงจันทน์
ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปประมาณ
160 - 170 กม.

สถานีบ้านวังมน (Ban Vang Mon)
สถานีบ้านมางขี (Ban Mang Khi)
สถานีหินเหิบ (Ban Hin Heup) เมืองหินเหิบ แขวงเวียงจันทน์
สถานีโพนโฮง (Phonh Hong) เมืองโพนโฮง แขวงเวียงจันทน์ ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปประมาณ 80 กิโลเมตร
สถานีบ้านสกา (Ban Sakha)
สถานีบ้านโพนสูง (Ban Phonh Sung)
สถานีเวียงจันทน์เหนือ (Vientiane Neua) ในนครหลวงเวียงจันทน์
สถานีเวียงจันทน์ใต้ (Vientiane Tay) ในนครหลวงเวียงจันทน์
** ตัวหนังสือสีเหลือง หมายถึง สถานีใหญ่ซึ่งเป็นสถานีหลักของทางรถไฟสายบ่อเต็น-นครหลวงเวียงจันทน์ **


รวมมีสะพานทั้งหมด 165 แห่ง ความยาวรวม 92.6 กม.มีอุโมงค์ทั้งหมด 69 แห่ง ความยาวรวม 186.9 กม.เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะแล่นผ่าน 5 แขวงจากทางชายแดนภาคเหนือของประเทศลาว ผ่านแขวงหลวงน้ำทา, แขวงอุดมไซ, แขวงหลวงพระบาง, แขวงเวียงจันทน์ และ นครหลวงเวียงจันทน์

คลิปวิดีโอนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงสายประวัติศาสตร์ ลาว-จีน







1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 กันยายน 2554 เวลา 15:50

    ประมาณ 2-3 ปี ผมจะไปเที่ยวพักผ่อนที่เมืองหลวงพระบาง เดิมเดินทางโดยรถยนต์ ได้เห็น 2 ข้างทาง ที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว แต่การเดินทางยากลำบากเพราะถนนแคบ และต้องเดินทางลัดเลี้ยวไปตามไหล่เขาช่วงเมืองกาสี - ศาลาภูคูณ - หลวงพระบาง ซึ่งยาวไกลมาก ต้องใช้เวลาเกือบ 10 ชั่วโมง ถ้านับจากเวียงจันทน์

    หากมีรถไฟความเร็วสูง ผมเชื่อว่า นอกจากตัวผมเองจะมีความสุขในการเดินทางแล้ว จะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกใช้บริการรถไฟมากมายแน่นอน

    ตอบลบ